นักวิจัย: รศ. ดร.ภก.พิสิฐ เขมาวุฆฒ์ ประเภทโครงการ: แผน

ฝุ่นละอองขนาดเล็กไม่เกิน 2.5 ไมครอน (PM 2.5) ส่งผลกระทบต่อสุขภาพและเกี่ยวข้องกับโรคในระบบทางเดินหายใจ ระบบทางเดินอาหาร และระบบประสาท อย่างไรก็ตามยังขาดข้อมูลความสัมพันธ์ของปริมาณสารเคมีที่เป็นส่วนประกอบของ PM 2.5 หรือความเป็นพิษของสารองค์ประกอบที่มีผลต่อสุขภาพและอวัยวะภายในต่างๆในโครงการนี้ คณะผู้วิจัยได้ทดสอบฝุ่น PM 2.5 มาตรฐาน ฝุ่น PM ที่เก็บจากกรุงเทพมหานครและปริมณฑล และโรงไฟฟ้าแม่เมาะ จ.ลำปาง ประเทศไทย พบสารในกลุ่ม polycyclic aromatic hydrocarbons จ า ก PM 2 . 5 ม า ต ร ฐ า น ไ ด้ แ ก่ Fluoranthene, Indeno[1,2,3c,d]pyrene, Benzo[b]fluoranthene, Benzo[a]pyrene และ Levoglucosan ฝุ่นจากโรงไฟฟ้าแม่เมาะ จ.ลำปาง ได้แก่ Acenaphthene เป็นส่วนใหญ่ ส่วนสารอื่นๆ มีในปริมาณน้อยมาก ฝุ่นจากกรุงเทพมหานครและปริมณฑลมีสาร Benzo[a]pyrene สูงที่สุด ผลการวิเคราะห์องค์ประกอบธาตุโลหะหนักในตัวอย่างฝุ่นมาตรฐาน พบว่ามีโครเมียม แมงกานีส สังกะสี ทองแดง โคบอลและเหล็กปริมาณสูง โดยพบว่ามีปริมาณเหล็กสูงที่สุด ส่วนฝุ่นจากอ.แม่เมาะ และจากกรุงเทพมหานครและปริมณฑล พบว่ามีปริมาณเหล็กสูงที่สุดเช่นเดียวกัน ตามด้วยแมงกานีสและสารหนู

ในส่วนของความเป็นพิษของเซลล์หรือการมีชีวิตของเซลล์ รวมถึงกลไกเชิงลึกในเซลล์เยื่อบุผิวหลอดลม (16HBE) เซลล์เยื่อบุผิวถุงลม (A549) เซลล์เยื่อบุลำไส้ (Caco-2 และ T84) เซลล์ประสาท (SK-N-SH) และเซลล์แอสโทรไซต์ (U-87 MG) ฝุ่น PM 2.5 มาตรฐานและฝุ่นจากประเทศไทย กระตุ้นให้เพิ่มภาวะเครียดจากออกซิเดชันในเซลล์เยื่อบุผิวทั้งสองอวัยวะนำไปสู่ความผิดปกติต่อการปกป้องตนเองของเซลล์ ในขณะที่ PM 2.5 กระตุ้นการอักเสบในเซลล์ประสาทและทำให้เซลล์ทั้งสามอวัยวะตาย การทดสอบฤทธิ์ของสารองค์ประกอบฝุ่นพบว่า Benzo[a]pyrene มีแนวโน้มเพิ่มระดับอนุมูลอิสระในเซลล์เยื่อบุผิวทั้งสองแต่ไม่ส่งผลต่อการตายของเซลล์ในขณะที่ Chromium (VI) มีผลกระทบต่อเซลล์ทั้งสามชนิดในลักษณะที่ใกล้เคียงกับผลที่เกิดจาก...

นักวิจัย: รศ.ดร.วรรณวิภา แก้วประดิษฐ์พลพินิจ ประเภทโครงการ: แผน

การเผาใบอ้อยเป็นแหล่งหนึ่งของมลภาวะทางอากาศจากฝุ่น PM 2.5 แปลงอ้อยที่ผ่านการเผายังสูญเสียธาตุอาหารทั้งจากดินและใบอ้อย ทั้งนี้ส่งผลทำให้ผลผลิตของอ้อยตอต่ำตามไปด้วย อย่างไรก็ตามใบอ้อยนั้นมีศักยภาพในการเพิ่มมูลค่าในด้านต่างๆ งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อลด PM2.5 จากการเผาอ้อย โดยการบริหารจัดการใบอ้อยหลังการเก็บเกี่ยว ผ่านระบบลอจิสติกต์ การศึกษาอุปสงค์-อุปทานใบอ้อย การเพิ่มมูลค่าใบและส่วนอื่นๆของอ้อย ดำเนินการศึกษาอุปสงค์-อุปทานใบอ้อย โดยสัมภาษณ์และถอดบทเรียนข้อมูลเบื้องต้นของผู้ประกอบการที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับในการเก็บเกี่ยว รวบรวม และขนส่งใบอ้อย เพื่อศึกษารูปแบบการจัดการเก็บเกี่ยวใบอ้อย ในปีการผลิต 2564/65 ของจังหวัดขอนแก่น จากนั้นพัฒนา application สำหรับสมาร์ทโฟน ศึกษาการเพิ่มมูลค่าใบและส่วนอื่นๆของอ้อย โดยกระบวนการทางชีวภาพและทางเคมีในระดับต้นแบบและการใช้กากใบอ้อยจากกระบวนสกัดน้ำตาลเพื่อผลิตไบโอชาร์ ไฮโดรเจลนำไฟฟ้าอัจฉริยะที่ประกอบด้วยนาโนซิลเวอร์ที่สังเคราะห์ด้วยวิธีที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมจากสารสกัดใบอ้อย การน้ าตาลสกัดจากขยะทางการเกษตรของอ้อยโดยกระบวนการไฮโดรไลซิสด้วยกรดและด่าง ผลการศึกษาพบว่าในปีการผลิต 2564/65 ภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีปริมาณอ้อยสด 30,064,536.46 ตัน มีประมาณการได้ปริมาณอุปทานใบอ้อยเท่ากับ 3,006,453.65 ตัน อย่างไรก็ตามโรงไฟฟ้าชีวมวลส่วนใหญ่ไม่ได้ใช้ใบอ้อยเป็นวัตถุดิบหลักในการผลิตไฟฟ้าชีวมวล มีอุปสงค์ใบอ้อยรวมเท่ากับ 282,500 ตัน หรือคิดเป็นร้อยละ 9.40 ของปริมาณอุปทานใบอ้อยทั้งหมดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งยังมีปริมาณใบอ้อยที่ไม่ถูกนำไปใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์อีก 2,723,953.64 ตัน ระบบโลจิสติกส์การเก็บใบอ้อยด้วยอัลกอริธึมที่พัฒนาขึ้นสามารถลดระยะทางในส่วนการ

ขนส่งลงจากเดิมขั้นตอนละ 12.49 กิโลเมตร สำหรับเครื่องจักรแต่ละประเภท และลดการใช้พลังงานจากการขนถ่ายในการกวาด อัด คีบ และขนส่งได้ 62.45 ,749.40 ,374.70 และ 374.70 บาท ตามล าดับ และได้พัฒนาซอฟแวร์ในรูปแบบ Mobile App (Android) คือ “ฉลาดจัดการใบอ้อย app” ให้ผู้ประกอบการใช้เป็นเครื่องมือในการวางแผนจัดล าดับการท างานในการเก็บใบอ้อยเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและลดต้นทุนในการดำเนินงานได้การศึกษาการเพิ่มมูลค่าใบอ้อยพบสภาวะความเข้มข้นของน้ำตาลผสมสูงสุดที่เหมาะสมสำหรับการใช้เป็นความเข้มข้นที่เหมาะสมสำหรับเพิ่มความเข้มข้นของน้ำตาลที่สกัดจากใบอ้อย เพื่อใช้ในการหมักเอทานอลจากเครื่องผลิตต้นแบบได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด ใบอ้อยสามารถนำมาผลิตไฮโดรเจลนำไฟฟ้าอัจฉริยะที่ประกอบด้วยนาโนซิลเวอร์ได้นอกจากนี้ยังสามารถผลิตน้ำตาลจากใบอ้อย ชานอ้อย และตออ้อยได้จากผลการศึกษาของแผนงานเป็นการเสนอแนวทางการจัดการใบอ้อยที่ระยะเก็บเกี่ยว ผ่านการบริหารจัดการโลจิสติกส์ การเพิ่มมูลค่าใบอ้อยและขยะจากอ้อยตามศักยภาพ อันน ามาซึ่งประโยชน์ต่อเกษตรกรชาวไร่อ้อย เกษตรกรผู้รับเหมาจัดเก็บใบอ้อย ภาคส่วนอุตสาหกรรมโรงงานน้ำตาล โรงงานไฟฟ้าชีวมวล ภาคธุรกิจอื่นๆที่สนใจ และประชาชนทั่วไป

 

คำสำคัญ ใบอ้อย โลจิสติกต์ การเพิ่มมูลค่า

นักวิจัย: รศ. ดร.ภัคพงศ์ พจนารถ ประเภทโครงการ: แผน

แผนปฏิบัติการขับเคลื่อนวาระแห่งชาติ “การแก้ไขปัญหามลพิษด้านฝุ่นละออง” ในปี 2562 กำหนดให้มลพิษด้านฝุ่นละอองเป็นประเด็นสำคัญที่ต้องเร่งดำเนินการแก้ไข จากแผนปฏิบัติการมีการกำหนดมาตรการในการจัดการปัญหาฝุ่นละออง PM2.5 ในหลากหลายประเด็น คณะผู้วิจัยทำการประเมินมาตรการที่สำคัญ จำนวน 11 มาตรการจากแผนปฏิบัติการขับเคลื่อนวาระแห่งชาติ “การแก้ไขปัญหามลพิษด้านฝุ่นละออง” และหน่วยงานอื่น โดยศึกษาปริมาณการปล่อย PM2.5 ที่ลดลง ผลกระทบด้านเศรษฐกิจ สังคมและสุขภาพ และประสิทธิผลของการการนำมาตรการมาปฏิบัติ จากทั้งหมด 11 มาตรการ พบว่า 8 มาตรการสามารถทำให้ปริมาณการปล่อย PM2.5 ลดลงได้โดยตรงจากการกำหนดสถานการณ์ที่ใกล้เคียงความเป็นจริงที่สุด โดยที่การลดการเผาในที่โล่งร้อยละ 40 จะสามารถลดการปล่อย PM2.5 ได้มากที่สุดในช่วงที่เกิดปัญหาหมอกควัน อย่างไรก็ตามในช่วงที่ไม่ใช่ฤดูหมอกควัน การลดกำลังการผลิตร้อยละสิบของโรงงานอุตสาหกรรมหรือการตรวจจับรถยนต์และเรือควันดำอย่างเข้มงวดจะสามารถลดปริมาณการปล่อย PM2.5 ได้มากที่สุด ต้นทุนส่วนเพิ่มและการวิเคราะห์ต้นทุนประสิทธิผลจากการประเมินผลกระทบทางเศรษฐกิจแสดงให้เห็นว่า มาตรการการทำงานจากระยะไกลและการลดการเผาในที่โล่ง เป็นมาตรการที่ควรถูกนำไปใช้ในช่วงวิกฤติหมอกควัน ในขณะที่มาตรการการลดกำลังการผลิตของโรงงานอุตสาหกรรมหรือการห้ามรถบรรทุกขนาดใหญ่เข้าพื้นที่กรุงเทพมหานครไม่ส่งผลให้เกิดความคุ้มค่าในด้านการลด PM2.5 จากการประเมินผลกระทบด้านสังคมพบว่ามาตรการที่เลือกมาใช้ส่วนใหญ่ส่งผลกระทบต่อสังคมในระดับต่ำยกเว้นมาตรการการลดกำลังการผลิตของอุตสาหกรรมซึ่งส่งผลกระทบต่อสังคมในระดับสูง จากการสำรวจพบว่าประชาชนจะมีความพึงพอใจสูงสุดต่อมาตรการที่เห็นชัดเจนเป็นรูปธรรมเช่น การเพิ่มพื้นที่เขียวในเขตกรุงเทพมหานคร สำหรับการศึกษา

ผลกระทบต่อสุขภาพในภาพรวม พบว่าระดับ PM2.5 จากโมเดลที่พัฒนาจากค่า AOD ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑลในช่วงปี 2553-2562 แสดงแนวโน้มที่ลดลงในช่วงครึ่งหลังอย่างมีนัยสำคัญ และการศึกษาผลกระทบของการรับสัมผัสระยะสั้นจาก PM2.5 พบว่า ทุก 10 มคก. ต่อ ลบม. ของ PM2.5 ที่เพิ่มขึ้นในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล จะส่งผลต่อการเสียชีวิตจากโรคหัวใจและหลอดเลือดหรือโรคทางเดินทางหายใจถึงร้อยละ 3-4 การใช้แบบจำลอง CIPPI ประเมินประสิทธิผลของการนำมาตรการมาปฏิบัติและการบูรณาการผลกระทบในทุกด้าน แสดงให้เห็นว่าแต่ละมาตรการก่อให้เกิดประสิทธิผลที่แตกต่างกัน โดยที่มาตรการที่ก่อให้เกิดประสิทธิผลสูงสุดสามลำดับแรกคือ การลดการเผาในที่โล่ง การบังคับใช้กฎหมายอย่างเข้มงวดสำหรับรถยนต์และเรือที่มีควันดำ และการทำงานจากระยะไกล

นักวิจัย: รศ.ดร.สมพร จันทระ ประเภทโครงการ: แผน

การแก้ไขปัญหามลพิษทางอากาศอย่างยั่งยืนจำเป็นต้องทราบถึงแหล่งกำเนิดฝุ่น PM2.5 เพื่อการจัดการและควบคุมการปล่อยมลพิษ งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ประเมินแหล่งกำเนิดทั้งแบบปฐมภูมิและทุติยภูมิของฝุ่น PM2.5 ในภาคเหนือของประเทศไทย 2) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างสารมลพิษทางอากาศและปัจจัยทางอุตุนิยมวิทยา เพื่อประเมินกลไกและกระบวนการทางฟิสิกส์เคมีบรรยากาศของการเกิดฝุ่นทุติยภูมิในบรรยากาศ โดยใช้แบบจำลองคณิตศาสตร์เพื่อจำลองสถานการณ์ PM2.5 และ...

นักวิจัย: ดร.อดิสร เตือนตรานนท์ ประเภทโครงการ: แผน

ประเทศไทยกำลังประสบปัญหาเกี่ยวกับฝุ่นละอองโดยเฉพาะฝุ่นละอองที่มีขนาดเล็กกว่า 2.5 ไมครอน ซึ่งฝุ่นละอองดังกล่าวจะมีผลต่อทัศนวิสัยการมองเห็นและส่งผลให้เกิดโรคเรื้อรังในมนุษย์ ดังนั้นการตรวจวัด PM2.5 ที่มีประสิทธิภาพจึงมีความสำคัญเพราะสามารถนำผลมาใช้แจ้งเตือนได้ โดยเฉพาะในพื้นที่ที่จำเป็นต้องควบคุมพิเศษ ในงานวิจัยนี้จึงมุ่งพัฒนาอุปกรณ์สำหรับตรวจวัด PM2.5 ที่เน้นการวัดด้วยเซนเซอร์ 2 ชนิดคือชนิด QCM ที่ ให้ความแม่นยำสูงและใช้เทคโนโลยีอินเตอร์เน็ตในทุกสรรพสิ่ง โดยค่าฝุ่น PM2.5 จะถูกตรวจวัดด้วยวิธีการชั่งมวลแล้วนำมาเทียบเคียงกับวิธีการตรวจวัดแบบมาตรฐาน ส่วนชนิดที่ 2 คืออุปกรณ์ตรวจวัดฝุ่น PM2.5 ขนาดจิ๋วที่สามารถสวมใส่ได้และแยกแยะความถูกต้องของการตรวจวัดด้วยปัญญาประดิษฐ์ เครื่องวัดชนิดนี้เป็นเครื่องวัด PM2.5 ส่วนบุคคลใช้เทคนิคการตรวจวัดด้วยวิธีการกระเจิงแสงร่วมกับการวิเคราะห์แบบปัญญาประดิษฐ์ ซึ่งงานวิจัยทั้งหมดนี้จะช่วยให้เกิดรูปแบบการพัฒนาเทคโนโลยีในการตรวจวัดฝุ่นและส่งเสริมเครื่องมือวัดที่ได้มาตรฐาน เกิดการตระหนักรู้ในการเฝ้าระวังในแต่ละพื้นที่รวมไปถึงการรับรู้ระดับบุคคล นอกจากนี้ยังเป็นการสร้างเครื่องมือที่มีมาตรฐานใช้ได้เองในประเทศได้อีกด้วย

นักวิจัย: ดร.ทัตพร คุณประดิษฐ์ ประเภทโครงการ: แผน

งานวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์การลดการเกิดไฟป่าและปัญหาหมอกควันโดยกระบวนการบริหารจัดการทรัพยากรท้องถิ่นและการมีส่วนร่วมของชุมชน จังหวัดแม่ฮ่องสอน จัดเก็บข้อมูลตัวชี้วัดความเปลี่ยนแปลง ที่เกิดขึ้นจากการบริหารจัดการทรัพยากรและลดปัญหาหมอกควันและ PM 2.5 ในพื้นที่จังหวัดแม่ฮ่องสอน โดยการเก็บตัวอย่างจำนวน 7 ชุมชนตัวแทนอำเภอ ได้แก่ หมู่บ้านนาปลาจาด อำเภอเมือง หมู่บ้านใหม่ อำเภอปาย หมู่บ้านปางคาม อำเภอปางมะผ้า หมู่บ้านห้วยไก่ป่า อำเภอแม่ลาน้อย หมู่บ้านไร่ อำเภอแม่สะเรียง หมู่บ้านแม่อูคอหลวง อำเภอขุนยวม และหมู่บ้านแม่ทะลุ อำเภอสบเมย ทำการเก็บตัวอย่างโดยการกำหนดเขตพื้นที่แนวกันไฟเปียก และพื้นที่ปลอดไฟ ทำการเก็บข้อมูลความชื้นดิน สมดุลน้ำ ผังน้ำชุมชน และแนวทางการจัดการไฟเปียกในพื้นที่ กำหนดขอบเขตการจัดการป่าชุมชนปลอดการเผา บนฐานข้อมูลพรรณพืช และระบบนิเวศป่าไม้ รวมถึงกาใช้ประโยชน์ในท้องถิ่นเพื่อสร้างเป็นฐานข้อมูลในพื้นที่จังหวัดแม่ฮ่องสอน และสร้างฐานข้อมูลพรรณไม้ในพื้นที่ และแผนการดูแลและใช้ประโยชน์พรรณไม้โดยชุมชนอย่างถูกต้อง โดยเฉพาะการใช้ฐานภูมิปัญญาท้องถิ่น และพฤกษศาสตร์พื้นที่ สร้างเป็นฐานข้อมูลในการวางแผนบริหารจัดการเชิงพื้นที่ ศึกษาความหลากหลายจุลินทรีย์ท้องถิ่นและคัดแยกกลุ่มจุลินทรีย์ท้องถิ่นที่มีประโยชน์เพื่อนำไปประยุกต์ใช้ในการย่อยสลายวัสดุกำเนิดไฟและพัฒนาเป็นปุ๋ยจุลินทรีย์ชีวภาพต้นแบบ โดยทำการเก็บตัวอย่างเชื้อจุลินทรีย์ท้องถิ่นจากดินในพื้นที่ป่าที่เคยไฟป่าและพื้นที่เกษตร รวมถึงศึกษาชนิดของใบไม้แห้งในป่าและวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตรที่ทำให้เกิดไฟ ใช้แบบสอบถาม แบบทดสอบ และชุดกิจกรรมสิ่งแวดล้อมศึกษาสำหรับเยาวชนและชุมชน กระบวนการสิ่งแวดล้อมศึกษาที่ใช้ประกอบด้วย 2 หน่วยการเรียนรู้ 4 กิจกรรม ที่เน้นการพัฒนาความรู้ความเข้าใจ สร้างความตระหนัก ทัศนคติ ทักษะ และการมีส่วนร่วม พบว่าฤดูแล้งมีความชื้นน้อยกว่าและชุมชนมีแผนในการจัดการน้ำในแนวกันไฟเปียกโดยการกักเก็บน้ำในรูปแบบของฝายชะลอน้ำ และฝายภูมิปัญญาที่สามารถสร้างความชื้นและเกิดแนวพรรณพืชริมฝั่งเพื่อป้องกันการลุกลามของไฟ สมดุลน้ำในทั้งทุกชุมชนมีปริมาณน้ำต้นทุนส่วนใหญ่จากปริมาณน้ำฝน พบว่า 5 ใน 7 หมู่บ้าน มีสภาพเป็นป่าผสมผลัดใบ (Mixed Deciduous Forest) โดยสามารถแบ่งกลุ่มย่อยได้เป็น กลุ่มป่าเบญจพรรณ 4 หมู่บ้าน ป่าเป็นป่าไม่ผลัดใบ 2 ชุมชน และในกลุ่มป่าดิบเขา (Hill Evergreen Forest) 1

ชุมชน และเมื่อนำข้อมูลที่ได้จัดทำระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (GIS) ของพื้นที่และศึกษาเปรียบเทียบกับฐานข้อมูลการใช้ประโยชน์ที่ดินและสิ่งปกคลุมดิน ปี พ.ศ. 2564 พบว่าหมู่บ้านที่มีลักษณะป่าเป็นป่าผสมผลัดใบ ทั้งกลุ่มป่าเบญจพรรณและป่าเต็ง-รัง จะมีการเกิดไฟไหม้ป่าได้ง่ายและมากกว่า กลุ่มหมู่บ้านที่เป็นป่าไม่ผลัดใบ (ป่าดิบเขา) ซึ่งมีการเกิดไฟป่าในพื้นที่น้อยมาก และจัดทำแผนการจัดการทรัพยากรป่าไม้ชุมชน เพื่อเผยแพร่ให้ชาวบ้านในพื้นที่และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จากการสำรวจใบไม้แห้งในป่าพบ ใบตองตึง ใบสักและใบไผ่ มากที่สุดและวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตรพบซังข้าวโพดและฟางข้าวมากที่สุด จากการศึกษาการคัดแยกจุลินทรีย์ท้องถิ่นที่มีประโยชน์พบแบคทีเรียกลุ่ม...

นักวิจัย: รศ.ดร.ศิริมา ปัญญาเมธีกุล ประเภทโครงการ: แผน

รัฐบาลได้ประกาศให้การแก้ไขปัญหาฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน เป็นวาระแห่งชาติตั้งแต่ปี พ.ศ. 2562 แต่ปัญหานี้ก็ยังถูกตั้งคำถามว่า “สาเหตุและการแก้ไขนั้นถูกต้องเหมาะสมหรือไม่” โดยเฉพาะแหล่งกำเนิดจากภาคการขนส่ง แผนงานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์ในการจัดลำดับความสำคัญของมาตรการต่าง ที่ภาครัฐและภาคส่วนที่เกี่ยวข้องดำเนินการในพื้นที่กรุงเทพมหานคร โดยใช้แบบจำลองการตัดสินใจเชิง

นักวิจัย: รศ.ดร.ชัยรัตน์ ตรีทรัพย์สุนทร ประเภทโครงการ: แผน

การใช้พืชในการบำบัดฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM2.5 นับเป็นอีกหนึ่งวิธีที่สามารถดูดซับมลพิษทางอากาศและฝุ่นละอองได้ งานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิภาพการบำบัดฝุ่น PM2.5 ของพืชยืนต้นชนิดต่าง ทั้งในระดับห้องปฏิบัติการและแบบ area-based experiment พร้อมทั้งการถ่ายทอดองค์ความรู้ต่าง เพื่อเป็นสาธารณประโยชน์ ผลการวิจัยพบว่า พืชที่มีความสามารถในการลด PM2.5...

นักวิจัย: รศ. ดร.เสริมเกียรติ จอมจันทร์ยอง ประเภทโครงการ: แผน

แผนวิจัยประเทศไทยไร้หมอกควัน (ภาคเหนือ) ระยะที่ 3 มีการนําองค์ความรู้และเทคโนโลยีที่ได้พัฒนาขึ้นในระยะที่ 1 และระยะที่ 2 มาต่อยอดเพื่อใช้งานและขยายผล (Implementation and Extension) ใน 9 จังหวัดภาคเหนือ ได้แก่ จังหวัดเชียงราย เชียงใหม่ ตาก น่าน พะเยา แพร่ แม่ฮ่องสอน ลําปาง และ ลําพูน ซึ่งประสบปัญหาด้านคุณภาพอากาศและฝุ่น PM 2.5 มาอย่างยาวนาน โดยเฉพาะในช่วงฤดูแล้ง โดยใน ระยะที่ 1 คณะผู้วิจัยได้ทําการศึกษาค้นหาข้อเท็จจริง (Fact-finding) ถึงสาเหตุและแหล่งกําเนิดฝุ่นควัน เพื่อหาแนวทางลดการแพร่กระจายของหมอกควัน อาทิ ศึกษาแนวทางการปรับเปลี่ยนการใช้ที่ดิน ออกแบบห่วงโซ่อุปทาน (Supply chain) ทางการเกษตร ศึกษาผลกระทบของหมอกควันในชุมชน และศึกษาการแพร่กระจายของหมอกควันในประเทศไทย ต่อมาในระยะที่ 2 คณะผู้วิจัยได้นําข้อมูลองค์ความรู้ที่ได้จากระยะที่ 1 มาทําการจําลองต้นแบบและทดลองใช้งาน (Modeling and Proof of Technology) ของระบบคาดการณ์หมอกควันโดยมีจังหวัดเชียงใหม่เป็นต้นแบบ สร้างเครือข่ายประเทศไร้หมอกควันสําหรับกลุ่มประเทศอาเซียนที่มีพรมแดนติดต่อกับประเทศไทย และบูรณาการการเกษตรเชิงวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่นรวมถึงการส่งเสริมการทําปศุสัตว์เพื่อลดการเผาในที่โล่ง

สําหรับการดําเนินการของแผนวิจัยระยะที่ 3 เป็นการต่อยอดองค์ความรู้โดย (1) การพัฒนาความรู้ระบบพยากรณ์อากาศและแอปพลิเคชันเพื่อสนับสนุนการบริหารจัดการปัญหาหมอกควันในพื้นที่ภาคเหนือของประเทศไทย (2) การดําเนินการทบทวนและถอดบทเรียนการบริหารจัดการหมอกควันในเขตพื้นที่ 9 จังหวัดภาคเหนือ และ (3) การวิเคราะห์เชิงนโยบายและแผนในการจัดการปัญหาในเขตพื้นที่ 9 จังหวัดภาคเหนือ และการสร้างเครือข่ายในเขตพื้นที่ 9 จังหวัดภาคเหนือ ซึ่งทางคณะผู้วิจัยได้บรรลุวัตถุประสงค์คือ (1) การได้พัฒนาระบบฐานข้อมูลและแอปพลิเคชันสนับสนุนการจัดการปัญหาหมอกควันได้แก่ 1. Burn Check 2. Fire D 3. Air Vista และ 4. www.hazefreethailand.org (2) การได้ทราบถึงจุดแข็ง จุดอ่อนโอกาส อุปสรรค และช่องว่าง (gap) ในการบริหารจัดการหมอกควันในเขตพื้นที่ 9 จังหวัดภาคเหนือ...

นักวิจัย: รศ. นพ.กมล แก้วกิติณรงค์ ประเภทโครงการ: แผน

การศึกษาในอดีตจากต่างประเทศเชื่อมโยงความสัมพันธ์ระหว่างระดับ PM2.5 ที่สูงขึ้นเกินค่ามาตรฐานความปลอดภัย กับปัญหาทางสาธารณสุข ในลักษณะต่างๆ ได้แก่ การเสียชีวิต การเจ็บป่วยจากโรคต่างๆที่เกี่ยวข้อง นำไปสู่การสูญเสียทางเศรษฐกิจ ข้อมูลดังกล่าวในเขตกรุงเทพมหานครยังไม่มีเพียงพอ คณะผู้วิจัยจึงออกแบบการศึกษาเพื่อหาความสัมพันธ์ของ PM2.5 กับผลกระทบด้านสุขภาพ คุณภาพชีวิต และการสูญเสียทางเศรษฐกิจในประชากรกรุงเทพมหานคร เป็นสองส่วน คือ 1. การศึกษาแบบย้อนหลังเกี่ยวกับความสัมพันธ์ของ PM2.5 กับการรับการบริการในโรงพยาบาลทั้งแบบผู้ป่วยนอกและผู้ป่วยใน และการเสียชีวิตในช่วงปี 2558-2563 ในเขตกรุงเทพมหานคร ด้วยวิธี Poisson Regression Model และ 2. การศึกษาแบบไปข้างหน้าเพื่อประเมินผลกระทบด้านคุณภาพชีวิตที่เสียไปในผู้ป่วยโรคทางเดินหายใจเรื้อรังโดยใช้แอพพลิเคชั่นในโทรศัพท์มือถือเก็บข้อมูลอย่างต่อเนื่องเกี่ยวกับ อาการผิดปกติ แบบสอบถามประเมินคุณภาพชีวิต นอกจากนี้ ยังได้มีการประเมินมูลค่าต้นทุนทางเศรษฐกิจทั้งทางตรงและทางอ้อมจากการเสียชีวิตก่อนวัยอันควรจาก PM2.5 ใช้วิธี Human Capital Approach และวิธี Cost of Illness

ผลการศึกษาแสดงให้เห็นถึงความเชื่อมโยงระหว่างการเสียชีวิตและการเจ็บป่วยในกรุงเทพมหานครและการรับสัมผัสต่อ PM2.5 ทุกความเข้มข้นที่เพิ่มขึ้น 10 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร ที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพประชากรกรุงเทพมหานครทำให้เกิดการเสียชีวิตก่อนวัยอันควรและการเจ็บป่วยจนต้องเข้ารับการรักษาพยาบาล โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากโรคระบบหัวใจและหลอดเลือดและโรคระบบทางเดินหายใจ ผลกระทบที่เกิดขึ้นมีความแตกต่างกันระหว่างกลุ่มประชากร โดยผลกระทบด้านการเสียชีวิตเกิดขึ้นสูงสุด คือ ร้อยละ

3.12 ในกลุ่มโรคระบบหัวใจและหลอดเลือดในกลุ่มวัยทำงานอายุ 15-64 ปี รองลงมาได้แก่ ร้อยละ 1.39 ในกลุ่มโรคระบบทางเดินหายใจ ผลกระทบต่อการเสียชีวิตเกิดขึ้นในวันแรกๆ หลังรับสัมผัส PM2.5 ในกลุ่มโรคหัวใจและหลอดเลือด แต่อาจจะเกิดตามมาในช่วงระยะเวลาหนึ่งหลังจากการรับสัมผัสฝุ่น PM2.5 ในกลุ่มโรคระบบทางเดินหายใจ ผลกระทบยังรวมถึงการสูญเสียคุณภาพชีวิตในกลุ่มผู้ป่วยโรคทางเดินหายใจเรื้อรังโดยพบความชุกของภาวะซึมเศร้าในกลุ่มผู้ป่วยร้อยละ 30.6 วิตกกังวลร้อยละ 28.6 และ เครียดร้อยละ 26.5 อาการไอ และรู้สึกมีเสมหะมากขึ้น ความสูญเสียต่อสุขภาพจากการเข้ารักษาพยาบาลและการเสียชีวิตก่อนวัยอันควรส่งผลกระทบต่อต้นทุนทางเศรษฐศาสตร์ตลอดช่วงการศึกษาที่สามารถหลีกเลี่ยงได้เป็นมูลค่าอยู่ที่ประมาณ 2,200 ล้านบาท หรือเฉลี่ยปีละ 370 ล้านบาท

ภาพรวมของผลการศึกษาชี้ให้เห็นถึงความจำเป็นอย่างเร่งด่วนในใช้มาตรการที่มีประสิทธิภาพในกรุงเทพมหานคร เพื่อลดการความสูญเสียทั้งทางสุขภาพและเศรษฐกิจที่เกิดจากมลพิษทางอากาศ โดยเฉพาะในกลุ่มประชากรเปราะบาง และประชากรกลุ่มวัยทำงานที่มีแนวโน้มได้รับสัมผัสต่อมลพิษทางอากาศสูง

 

คำสำคัญ: PM2.5 การเสียชีวิต กลุ่มโรคระบบทางเดินหายใจ กลุ่มโรคระบบหัวใจและหลอดเลือด คุณภาพชีวิต ต้นทุนทางเศรษฐศาสตร์

Copyright © 2025 HTAPC-NRCT-CCCACC-TU | Hub of Talents on Air Pollution and Climate Inspiro Theme by WPZOOM