Knowledge Database on Air Pollution and Climate Change

นักวิจัย: รศ. ดร.ธันวดี ศรีธาวิรัตน์ ประเภทโครงการ: โครงการเดี่ยว

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความเข้มข้นและองค์ประกอบทางเคมีของฝุ่นละอองขนาดเล็กกว่า 2.5 ไมครอน (PM2.5) ตามการเปลี่ยนแปลงของฤดูกาลในเขตจังหวัดพิษณุโลก รวมทั้งจําแนกประเภทและสัดส่วนแหล่งกําเนิดของฝุ่น PM2.5 การศึกษาความเข้มข้นของฝุ่น PM2.5 โดยการเก็บตัวอย่างต่อเนื่อง 24 ชั่วโมง ตั้งแต่เดือนกรกฎาคม พ.. 2563 ถึง เดือนมีนาคม พ.. 2564 ในพื้นที่ศึกษา 2 พื้นที่ ได้แก่ พื้นที่เมืองและพื้นที่กึ่งเมือง พบว่าค่าความเข้มข้นของฝุ่น PM2.5 ในเขตพื้นที่เมือง มีค่าเฉลี่ยอยู่ในช่วง 10.9±3.9 -70.7±14.7 μg/m3และมีค่าเกินมาตรฐานคุณภาพอากาศในบรรยากาศทั่วไปที่กําหนดไว้ 50 μg/m3 อยู่ 3 เดือน คือ เดือน มกราคม-มีนาคม พ.. 2564 ส่วนฝุ่น PM2.5 ในเขตพื้นที่กึ่งเมืองมีค่าเฉลี่ยอยู่ในช่วง 16.8±9.6 - 84.6±18.5 μg/m3 และมีค่าเกินมาตรฐาน อยู่ 4 เดือน คือ เดือน ธันวาคม พ.. 2563 - มีนาคม พ.. 2564 ผลการวิเคราะห์องค์ประกอบทางเคมี พบว่าสัดส่วนองค์ประกอบทางเคมีในฝุ่น PM2.5 ในเขตพื้นที่เมืองมีองค์ประกอบคาร์บอนมากที่สุด รองลงมาคือแอนไอออน แคทไอออน และปริมาณธาตุพบน้อยสุดตามลําดับ รวมทั้งหมดคิดเป็น 98% ของปริมาณฝุ่น PM2.5...

นักวิจัย: ดร.ไกรวุฒิ กัลวิชา ประเภทโครงการ: โครงการ

ปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็กที่มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางเล็กกว่า 2.5 ไมครอน (PM2.5) ในบรรยากาศนับเป็นปัญหาสิ่งแวดล้อมที่สําคัญ ที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพ สถานีตรวจวัดฝุ่นเหล่านี้มีอยู่อย่างจํากัดและไม่ได้ครอบคลุมทั่วทุกพื้นที่ จึงทําให้ขาดข้อมูลเพื่อการจัดการในด้านการวงแผนเพื่อลดฝุ่น และการเฝ้าระวังผลกระทบต่อสุขภาพ การศึกษานี้มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาการกระจายตัวของฝุ่น PM2.5 เชิงพื้นที่และเวลา ศึกษาความสัมพันธ์กับปัจจัยทางอุตุนิยมวิทยา รวมถึงการสร้างแบบจําลองสมการถดถอยการใช้ที่ดิน (Land use regression model: LUR) เพื่อคาดการณ์ปริมาณฝุ่น PM2.5 ในบรรยากาศของกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ในการศึกษานี้มีการนําข้อมูล PM2.5 ย้อนหลัง 10 ปี จากสถานีตรวจวัดมาใช้ โดยอาศัยข้อมูลการใช้ที่ดิน ข้อมูลอุตุนิยมวิทยา ภาพถ่ายดาวเทียม มาประกอบ และใช้สมการถดถอยพหุคูณในรูปแบบการวัดซำ้ ในการสร้างแบบจําลอง การศึกษาพบว่า ฝุ่น PM2.5 มีการกระจายตัวแปรผันตามฤดูกาล และมีความสัมพันธ์ในระดับสูงกับฝุ่น PM10 และ มีความสัมพันธ์ในรดับปานกลางกับ NO2 และ O3 โดยปริมาณฝุ่นมีสูงในพื้นที่ฝั่งตะวันตกไปจนถึงทิศเหนือของกรุงเทพ ฯ ในการสร้างแบบจําลองได้ใช้ข้อมูลย้อนหลังตั้งแต่เดือนมิถุนายน 2560 ถึง กันยายน 2564 ซึ่งเป็นข้อมูลที่สมบูรณ์ที่สุดมาใช้สร้าง จากแบบจําลองถดถอยการใช้ที่ดินพบว่าปริมาณ NO2 ในบรรยากาศ และ พื้นที่ถนน การคมนาคมขนส่ง สถานีรถ สนามบิน ในรัศมี 500 เมตร สัมพันธ์กับปริมาณฝุ่น PM2.5 ที่สูงขึ้น ในขณะที่พื้นที่เมือง การค้า ในรัศมี 100 เมตร และพื้นที่แหล่งน้ํา ในรัศมี 200 เมตร สัมพันธ์กับปริมาณฝุ่นที่ลดลง (p < 0.001) แบบจําลองที่ได้มีค่า R2 = 0.78 (RMSE = 0.0932) และมีค่า Cross-validation R2 = 0.76 แบบจําลองที่ได้สามารถนําไปใช้ในการพยากรณ์ฝุ่น PM2.5 บริเวณที่ไม่มีสถานีตรวจวัดได้ข้อมูลความสัมพันธ์กับการใช้ที่ดินนี้จะเป็นแนวทางประยุกต์ใช้เพื่อการจัดสรรพื้นที่ให้เหมาะสมที่จะช่วยลดปริมาณฝุ่น PM2.5 ในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล และแบบจําลองนี้ยังสามารถใช้เพื่อการประเมินผลกระทบต่อสุขภาพจาก PM2.5 ต่อไป

นักวิจัย: ศูนย์รวมผู้เชี่ยวชาญด้านมลพิษอากาศและภูมิอากาศ ประเภทโครงการ: บทความเชิงวิชาการ

บทความเชิงวิชาการศูนย์รวมผู้เชี่ยวชาญด้านมลพิษอากาศและภูมิอากาศ ประจําเดือน มกราคม พ.ศ. 2567 ฉบับที่ 1

วันที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2566 เวลาประมาณ 12.00 น. ตามเวลาท้องถิ่นประเทศไทย เกิดเหตุหม้อแปลงระเบิดและไฟไหม้โรงไฟฟ้าชีวมวล ซึ่งมีหน่วยการผลิตขนาด 37.15 MW จุดเกิดเหตุห่างจากกรุงเทพมหานคร ประมาณ 100 กิโลเมตร หลังจากการระเบิดนั้น ก่อให้เกิดกลุ่มควัน (Plume) ลอยสูงประมาณ 100-250 เมตร ซึ่งอาจส่งผลกระทบด้านมลพิษอากาศเป็นบริเวณกว้าง

ดังนั้น ศูนย์รวมผู้เชี่ยวชาญด้านมลพิษอากาศและภูมิอากาศ ได้ทำการวิเคราะห์แบบจำลอง HYSPLIT Trajectory Model เพื่อวิเคราะห์ทิศทางการเคลื่อนที่ของมวลอากาศ และทำการคาดการณ์สัดส่วนการแพร่กระจายด้วยแบบจำลอง HYSPLIT Dispersion Model

นักวิจัย: รศ. ดร.เสริมเกียรติ จอมจันทร์ยอง ประเภทโครงการ: แผน

แผนวิจัยประเทศไทยไร้หมอกควัน (ภาคเหนือ) ระยะที่ 3 มีการนําองค์ความรู้และเทคโนโลยีที่ได้พัฒนาขึ้นในระยะที่ 1 และระยะที่ 2 มาต่อยอดเพื่อใช้งานและขยายผล (Implementation and Extension) ใน 9 จังหวัดภาคเหนือ ได้แก่ จังหวัดเชียงราย เชียงใหม่ ตาก น่าน พะเยา แพร่ แม่ฮ่องสอน ลําปาง และ ลําพูน ซึ่งประสบปัญหาด้านคุณภาพอากาศและฝุ่น PM 2.5 มาอย่างยาวนาน โดยเฉพาะในช่วงฤดูแล้ง โดยใน ระยะที่ 1 คณะผู้วิจัยได้ทําการศึกษาค้นหาข้อเท็จจริง (Fact-finding) ถึงสาเหตุและแหล่งกําเนิดฝุ่นควัน เพื่อหาแนวทางลดการแพร่กระจายของหมอกควัน อาทิ ศึกษาแนวทางการปรับเปลี่ยนการใช้ที่ดิน ออกแบบห่วงโซ่อุปทาน (Supply chain) ทางการเกษตร ศึกษาผลกระทบของหมอกควันในชุมชน และศึกษาการแพร่กระจายของหมอกควันในประเทศไทย ต่อมาในระยะที่ 2 คณะผู้วิจัยได้นําข้อมูลองค์ความรู้ที่ได้จากระยะที่ 1 มาทําการจําลองต้นแบบและทดลองใช้งาน (Modeling and Proof of Technology) ของระบบคาดการณ์หมอกควันโดยมีจังหวัดเชียงใหม่เป็นต้นแบบ สร้างเครือข่ายประเทศไร้หมอกควันสําหรับกลุ่มประเทศอาเซียนที่มีพรมแดนติดต่อกับประเทศไทย และบูรณาการการเกษตรเชิงวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่นรวมถึงการส่งเสริมการทําปศุสัตว์เพื่อลดการเผาในที่โล่ง

สําหรับการดําเนินการของแผนวิจัยระยะที่ 3 เป็นการต่อยอดองค์ความรู้โดย (1) การพัฒนาความรู้ระบบพยากรณ์อากาศและแอปพลิเคชันเพื่อสนับสนุนการบริหารจัดการปัญหาหมอกควันในพื้นที่ภาคเหนือของประเทศไทย (2) การดําเนินการทบทวนและถอดบทเรียนการบริหารจัดการหมอกควันในเขตพื้นที่ 9 จังหวัดภาคเหนือ และ (3) การวิเคราะห์เชิงนโยบายและแผนในการจัดการปัญหาในเขตพื้นที่ 9 จังหวัดภาคเหนือ และการสร้างเครือข่ายในเขตพื้นที่ 9 จังหวัดภาคเหนือ ซึ่งทางคณะผู้วิจัยได้บรรลุวัตถุประสงค์คือ (1) การได้พัฒนาระบบฐานข้อมูลและแอปพลิเคชันสนับสนุนการจัดการปัญหาหมอกควันได้แก่ 1. Burn Check 2. Fire D 3. Air Vista และ 4. www.hazefreethailand.org (2) การได้ทราบถึงจุดแข็ง จุดอ่อนโอกาส อุปสรรค และช่องว่าง (gap) ในการบริหารจัดการหมอกควันในเขตพื้นที่ 9 จังหวัดภาคเหนือ...

นักวิจัย: รศ. ดร.นเรศ เชื้อสุวรรณ ประเภทโครงการ: โครงการเดี่ยว

การเก็บตัวอย่างฝุ่นละอองขนาดเล็กกว่า 2.5 ไมครอน ด้วยเครื่องเก็บตัวอย่างมาตรฐาน (FRM) ได้ดำเนินการในจังหวัดสมุทรปราการ สมุทรสาคร นครปฐม นนทบุรี และปทุมธานี (2563 – 2564) เก็บตัวอย่างจากแหล่งกำเนิดที่มีการเผาไหม้เชื้อเพลิงและกิจกรรมอุตสาหกรรม การปิ้งย่าง ก่อสร้าง ตัวอย่างจากกรุงเทพฯ เป็นของสถานีฯ ดินแดง กรมประชาสัมพันธ์ บางนา (ข้อมูลกรมควบคุมมลพิษ 2561-2562) นำไปวิเคราะห์องค์ประกอบทางเคมีในกลุ่มไอออนละลายน้ำ 10 ชนิด ธาตุ 21 ชนิด สารอินทรีย์คาร์บอนและธาตุคาร์บอน รวมทั้งประเมินการเคลื่อนที่ของการจราจรบนถนนวงแหวนรัชดาภิเษกและกาญจนาภิเษกระดับ PM2.5 สูงกว่า 50 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตรเกิดขึ้นบางวันในช่วงฤดูหนาว แต่ระดับที่เพิ่มขึ้นหรือลดลงในแต่ละจังหวัดไม่เท่ากัน ปัจจัยของแหล่งกำเนิดเสริมกับสภาพอุตุนิยมวิทยาที่จำกัดการเคลื่อนที่และระบายอากาศมีส่วนสำคัญต่อการสะสม PM2.5 ฝุ่นทุติยภูมิและการเผาไหม้มีสัดส่วนสูงร้อยละ 21 - 31 ของน้ำหนัก PM2.5 ลักษณะของความสัมพันธ์ของแก๊สตั้งต้นและฝุ่นทุติยภูมิค่อนข้างชัดเจนในพื้นที่มีเมืองที่มีอุตสาหกรรม (สมุทรสาคร สมุทรปราการ) สังเกตได้จากระดับของซัลเฟตไอออนที่พบในปริมาณสูงกว่าไอออนละลายน้ำชนิดอื่นในทุกสถานีฯ และทุกฤดูกาล ปริมาณของสารอินทรีย์คาร์บอนเป็นองค์ประกอบหลักของ PM2.5 ตามด้วยซัลเฟตไอออน และธาตุคาร์บอน ธาตุปริมาณน้อย 5 ชนิด เป็นกลุ่มธาตุหลักพบในระดับสูงกว่าธาตุอื่น ได้แก่ B Al Fe Zn และ Pb โดยเฉลี่ยมีเหล็ก (Fe) สูงกว่าธาตุอื่นในทุกจังหวัดในระดับนาโนกรัมต่อลูกบาศก์เมตร กลุ่มธาตุรองมีทองแดง แมงกานีส แบเรียม พลวง นิกเกิล ลักษณะสัณฐานของ PM2.5 ไม่มีรูปร่างแน่นอน มักเกาะกลุ่มรวมกัน ลักษณะทางเคมีของแหล่งกำเนิด (source profiles) แตกต่างกันตามแหล่งกำเนิด เช่น การเผาไหม้น้ำมันเตามีวาเนเดียมสูง การเผาไหม้ชีวมวลมีโพแทสเซียมสูง การหาสัดส่วนแหล่งกำเนิดด้วยแบบจำลอง PMF พบว่า PM2.5 มีแหล่งกำเนิดเปลี่ยนไปตามพื้นที่และฤดูกาล ในภาพรวมพบว่า สถานีฯ ในพื้นที่กรุงเทพฯ มีแหล่งกำเนิดหลักที่สำคัญหลัก คือ การจราจร ฝุ่นทุติยภูมิโดยเฉพาะซัลเฟต การเผาชีวมวล การเผากากของเสีย ผสมกับฝุ่นจากการฟุ้งกระจายจากถนนและเศษดิน พื้นที่ปริมณฑลมีแหล่งกำเนิดหลัก คือ...