
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการเตรียมกระถางชีวมวลจากฟางข้าว โดยใช้น้ำยางพรีวัลคาไนซ์ (PVL) และแป้งมันสำปะหลัง (ST) เป็นสารประสานและเคลือบผิวด้านในของกระถางชีวมวลด้วยไฮโดรเจล เพื่อควบคุมการปลดปล่อยปุ๋ยยูเรีย การดำเนินการวิจัยประกอบด้วย 4 ส่วนหลัก ดังนี้
(1) การศึกษาสภาวะที่เหมาะสมในการขึ้นรูปแผ่นคอมโพสิตจากฟางข้าวด้วยเทคนิค

ปัญหา PM 2.5 นับเป็นปัญหาที่รุนแรงส่งผลเสียต่อทั้งร่างกายและความเป็นอยู่ของสังคมโดยรวม ดังนั้น วัตถุประสงค์ของงานวิจัยนี้จะทำการวิจัยเพื่อสร้างแผ่นกรองจากโฟมยางธรรมชาติที่มีความสามารถในการกรองฝุ่น PM 2.5 พร้อมทั้งต้านแบคทีเรียได้เพื่อเป็นการใช้ยางธรรมชาติที่เป็นสารตั้งต้นที่สามารถผลิตภายในประเทศและมีจำนวนมากโดยการศึกษาการขึ้นรูปเป็นโฟมยางและศึกษาปัจจัยต่างๆที่มีผลต่อประสิทธิภาพการกรองของโฟมยาง เช่น ปริมาณกำมะถัน การเติมถ่านกัมมันต์ และการเคลือบไคโตซานเพื่อช่วยต้านแบคทีเรียและประสิทธิภาพการกรอง จากผลการทดสอบ พบว่า ประสิทธิภาพการกรองฝุ่น PM2.5 ของโฟมยางธรรมชาติสูงถึง99% นอกจากนี้สามารถต้านเชื้อรา (Aspergillus niger) และเชื้อแบคทีเรีย S.aureus และ E.coli ได้เป็นอย่างดีนอกจากนี้จากการวัดประสิทธิภาพการกรองของโฟมยางธรรมชาติเทียบกับมาตรฐาน EN 14683 พบว่าประสิทธิภาพการกรองฝุ่นที่มีขนาด 0.1 ไมโครเมตรสูงถึงร้อยล่ะ 99.2% ซึ่งสามารถยืนยันได้ว่าสามารถกรองฝุ่นPM 2.5 ได้อย่างแน่นอนและเมื่อเปรียบเทียบประสิทธิภาพการกรองเทียบกับแผ่นกรองทางการค้า พบว่า มีประสิทธิภาพการกรองใกล้เคียงกันนอกจากนี้จากการคิดราคาต่อแผ่นพบว่าแผ่นกรองโฟมยางธรรมชาติมีราคา 759 บาทต่อแผ่นแต่ถ้าไม่เคลือบไคโตซานจะมีราคา 73 บาทต่อแผ่น
คำสำคัญ PM 2.5, ยางธรรมชาติ,ประสิทธิภาพการกรอง

ปัญหา PM 2.5 นับเป็นปัญหาที่รุนแรง ซึ่งส่งผลเสียต่อทั้งร่างกายและความเป็นอยู่ของสังคมโดยรวม ดังนั้น วัตถุประสงค์ของงานวิจัยนี้ คือ การพัฒนาแผ่นกรองจากโฟมยางธรรมชาติที่มีความสามารถในการกรองฝุ่น PM 2.5 และสามารถต้านแบคทีเรียได้ โดยใช้ยางธรรมชาติซึ่งเป็นวัตถุดิบที่สามารถผลิตได้ภายในประเทศและมีปริมาณมาก การศึกษานี้มุ่งเน้นการขึ้นรูปโฟมยาง และศึกษาปัจจัยต่าง...