No Image Available

การพัฒนาแบบจำลองการถดถอยการใช้ที่ดิน (LUR) เพื่อพยากรณ์ปริมาณ PM2.5 ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล

- The development of land use regression model (LUR) for PM2.5 predicting in Bangkok area and vicinity
 นักวิจัย:: ดร.ไกรวุฒิ กัลวิชา  ประเภทโครงการ:: โครงการ  หน่วยงาน:: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย  ปีเผยแพร่:: 2022  ประเทศ:: ไทย  ภาษา:: ไทย  อีเมล:: kraiwuthk@gmail.com More Details  อ่านเพิ่มเติม
 บทคัดย่อ:

ปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็กที่มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางเล็กกว่า 2.5 ไมครอน (PM2.5) ในบรรยากาศนับเป็นปัญหาสิ่งแวดล้อมที่สําคัญ ที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพ สถานีตรวจวัดฝุ่นเหล่านี้มีอยู่อย่างจํากัดและไม่ได้ครอบคลุมทั่วทุกพื้นที่ จึงทําให้ขาดข้อมูลเพื่อการจัดการในด้านการวงแผนเพื่อลดฝุ่น และการเฝ้าระวังผลกระทบต่อสุขภาพ การศึกษานี้มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาการกระจายตัวของฝุ่น PM2.5 เชิงพื้นที่และเวลา ศึกษาความสัมพันธ์กับปัจจัยทางอุตุนิยมวิทยา รวมถึงการสร้างแบบจําลองสมการถดถอยการใช้ที่ดิน (Land use regression model: LUR) เพื่อคาดการณ์ปริมาณฝุ่น PM2.5 ในบรรยากาศของกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ในการศึกษานี้มีการนําข้อมูล PM2.5 ย้อนหลัง 10 ปี จากสถานีตรวจวัดมาใช้ โดยอาศัยข้อมูลการใช้ที่ดิน ข้อมูลอุตุนิยมวิทยา ภาพถ่ายดาวเทียม มาประกอบ และใช้สมการถดถอยพหุคูณในรูปแบบการวัดซำ้ ในการสร้างแบบจําลอง การศึกษาพบว่า ฝุ่น PM2.5 มีการกระจายตัวแปรผันตามฤดูกาล และมีความสัมพันธ์ในระดับสูงกับฝุ่น PM10 และ มีความสัมพันธ์ในรดับปานกลางกับ NO2 และ O3 โดยปริมาณฝุ่นมีสูงในพื้นที่ฝั่งตะวันตกไปจนถึงทิศเหนือของกรุงเทพ ฯ ในการสร้างแบบจําลองได้ใช้ข้อมูลย้อนหลังตั้งแต่เดือนมิถุนายน 2560 ถึง กันยายน 2564 ซึ่งเป็นข้อมูลที่สมบูรณ์ที่สุดมาใช้สร้าง จากแบบจําลองถดถอยการใช้ที่ดินพบว่าปริมาณ NO2 ในบรรยากาศ และ พื้นที่ถนน การคมนาคมขนส่ง สถานีรถ สนามบิน ในรัศมี 500 เมตร สัมพันธ์กับปริมาณฝุ่น PM2.5 ที่สูงขึ้น ในขณะที่พื้นที่เมือง การค้า ในรัศมี 100 เมตร และพื้นที่แหล่งน้ํา ในรัศมี 200 เมตร สัมพันธ์กับปริมาณฝุ่นที่ลดลง (p < 0.001) แบบจําลองที่ได้มีค่า R2 = 0.78 (RMSE = 0.0932) และมีค่า Cross-validation R2 = 0.76 แบบจําลองที่ได้สามารถนําไปใช้ในการพยากรณ์ฝุ่น PM2.5 บริเวณที่ไม่มีสถานีตรวจวัดได้ข้อมูลความสัมพันธ์กับการใช้ที่ดินนี้จะเป็นแนวทางประยุกต์ใช้เพื่อการจัดสรรพื้นที่ให้เหมาะสมที่จะช่วยลดปริมาณฝุ่น PM2.5 ในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล และแบบจําลองนี้ยังสามารถใช้เพื่อการประเมินผลกระทบต่อสุขภาพจาก PM2.5 ต่อไป

Copyright © 2025 HTAPC-NRCT-CCCACC-TU | Hub of Talents on Air Pollution and Climate Inspiro Theme by WPZOOM