นักวิจัย: รศ.ดร.ณัฏฐา ฐานีพานิชสกุล ประเภทโครงการ: โครงการเดี่ยว

การทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบและการวิเคราะห์อภิมานของการศึกษาระหว่าง พ.ศ. 2554 – 2564 พบว่า คนที่ได้รับสัมผัสฝุ่นละออง PM2.5 ทั้งระยะสั้นและยาวเพิ่มขึ้น 10 µg/m3 มีโอกาสในการเสียชีวิตด้วยโรคหัวใจและหลอดเลือดเพิ่มขึ้น 1.0069 เท่า (95% CI 1.0051, 1.0087; p-value < 0.0001) และเสียชีวิตด้วยโรคระบบทางเดินหายใจเพิ่มขึ้น 1.0078 เท่า (95% CI 1.0059-1.0097; p-value < 0.0001) การประเมินผลกระทบต่อสุขภาพโดยใช้โปรแกรม Air Q+ ขององค์การอนามัยโลกพบว่า เมื่อกำหนดค่าความเข้มข้นของ PM2.5 ที่ 37.5 µg/m3 จะสามารถลดความเสี่ยงของประชากรที่จะต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลจากโรคระบบทางเดินหายใจได้101 คน ต่อ 100,000 ประชากร ลดความเสี่ยงของประชากรที่จะต้องรับการรักษาโรงพยาบาลจากโรคหัวใจและหลอดเลือดได้117 คน ต่อ 100,000 ประชากรการประเมินผลกระทบต่อสุขภาพโดยใช้Environmental Benefits Mapping and Analysis Program -Community Edition เมื่อกำหนดค่าความเข้มข้นของ PM2.5 ที่ 15 µg/m3 พบว่าอัตราการตายของโรคทางเดินหายใจใน 75 จังหวัด จะมีอัตราการตายของโรคทางเดินหายใจ 0.000 – 14.624 คน/ปีในส่วนของการประเมินผลกระทบต่อสุขภาพด้วยโมเดลทางระบาดวิทยา การเพิ่มขึ้น 10% ของ PM2.5 ที่ lag 0 มีความสัมพันธ์ต่อการเพิ่มขึ้นของการเสียชีวิตทุกกลุ่มโรคในภาคเหนือร้อยละ 0.16 (95%CI : 0.06,0.26)

กรุงเทพมหานครและปริมณฑลร้อยละ 0.21 (95%CI : 0.10,0.32) นอกจากนี้การเพิ่มขึ้น 10% ของ PM2.5 ที่ lag 1 ในภาคเหนือมีความสัมพันธ์ต่อการเพิ่มขึ้นของการเข้ารับการรักษาผู้ป่วยนอกด้วยโรคหัวใจและหลอดเลือดร้อยละ 0.56 (95%CI : 0.55,0.58) และมีความสัมพันธ์กับการเข้ารับบริการผู้ป่วยในด้วยโรคระบบทางเดินหายใจเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.47...

นักวิจัย: ดร.ไกรวุฒิ กัลวิชา ประเภทโครงการ: โครงการ

ปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็กที่มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางเล็กกว่า 2.5 ไมครอน (PM2.5) ในบรรยากาศนับเป็นปัญหาสิ่งแวดล้อมที่สําคัญ ที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพ สถานีตรวจวัดฝุ่นเหล่านี้มีอยู่อย่างจํากัดและไม่ได้ครอบคลุมทั่วทุกพื้นที่ จึงทําให้ขาดข้อมูลเพื่อการจัดการในด้านการวงแผนเพื่อลดฝุ่น และการเฝ้าระวังผลกระทบต่อสุขภาพ การศึกษานี้มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาการกระจายตัวของฝุ่น PM2.5 เชิงพื้นที่และเวลา ศึกษาความสัมพันธ์กับปัจจัยทางอุตุนิยมวิทยา รวมถึงการสร้างแบบจําลองสมการถดถอยการใช้ที่ดิน (Land use regression model: LUR) เพื่อคาดการณ์ปริมาณฝุ่น PM2.5 ในบรรยากาศของกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ในการศึกษานี้มีการนําข้อมูล PM2.5 ย้อนหลัง 10 ปี จากสถานีตรวจวัดมาใช้ โดยอาศัยข้อมูลการใช้ที่ดิน ข้อมูลอุตุนิยมวิทยา ภาพถ่ายดาวเทียม มาประกอบ และใช้สมการถดถอยพหุคูณในรูปแบบการวัดซำ้ ในการสร้างแบบจําลอง การศึกษาพบว่า ฝุ่น PM2.5 มีการกระจายตัวแปรผันตามฤดูกาล และมีความสัมพันธ์ในระดับสูงกับฝุ่น PM10 และ มีความสัมพันธ์ในรดับปานกลางกับ NO2 และ O3 โดยปริมาณฝุ่นมีสูงในพื้นที่ฝั่งตะวันตกไปจนถึงทิศเหนือของกรุงเทพ ฯ ในการสร้างแบบจําลองได้ใช้ข้อมูลย้อนหลังตั้งแต่เดือนมิถุนายน 2560 ถึง กันยายน 2564 ซึ่งเป็นข้อมูลที่สมบูรณ์ที่สุดมาใช้สร้าง จากแบบจําลองถดถอยการใช้ที่ดินพบว่าปริมาณ NO2 ในบรรยากาศ และ พื้นที่ถนน การคมนาคมขนส่ง สถานีรถ สนามบิน ในรัศมี 500 เมตร สัมพันธ์กับปริมาณฝุ่น PM2.5 ที่สูงขึ้น ในขณะที่พื้นที่เมือง การค้า ในรัศมี 100 เมตร และพื้นที่แหล่งน้ํา ในรัศมี 200 เมตร สัมพันธ์กับปริมาณฝุ่นที่ลดลง (p < 0.001) แบบจําลองที่ได้มีค่า R2 = 0.78 (RMSE = 0.0932) และมีค่า Cross-validation R2 = 0.76 แบบจําลองที่ได้สามารถนําไปใช้ในการพยากรณ์ฝุ่น PM2.5 บริเวณที่ไม่มีสถานีตรวจวัดได้ข้อมูลความสัมพันธ์กับการใช้ที่ดินนี้จะเป็นแนวทางประยุกต์ใช้เพื่อการจัดสรรพื้นที่ให้เหมาะสมที่จะช่วยลดปริมาณฝุ่น PM2.5 ในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล และแบบจําลองนี้ยังสามารถใช้เพื่อการประเมินผลกระทบต่อสุขภาพจาก PM2.5 ต่อไป

นักวิจัย: ดร.ไกรวุฒิ กัลวิชา ประเภทโครงการ: โครงการ

ปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็กที่มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางเล็กกว่า 2.5 ไมครอน (PM2.5) ในบรรยากาศ นับเป็นปัญหาสิ่งแวดล้อมที่สำคัญ ซึ่งส่งผลกระทบต่อสุขภาพ สถานีตรวจวัดฝุ่นเหล่านี้มีอยู่อย่างจำกัดและไม่ได้ครอบคลุมทั่วทุกพื้นที่ จึงทำให้ขาดข้อมูลเพื่อการจัดการด้านการวางแผนเพื่อลดฝุ่น และการเฝ้าระวังผลกระทบต่อสุขภาพ

การศึกษานี้มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาการกระจาตัวของฝุ่น PM2.5...

นักวิจัย: รศ.ดร.ศิริมา ปัญญาเมธีกุล ประเภทโครงการ: แผน

รัฐบาลได้ประกาศให้การแก้ไขปัญหาฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน เป็นวาระแห่งชาติตั้งแต่ปี พ.ศ. 2562 แต่ปัญหานี้ก็ยังถูกตั้งคำถามว่า “สาเหตุและการแก้ไขนั้นถูกต้องเหมาะสมหรือไม่” โดยเฉพาะแหล่งกำเนิดจากภาคการขนส่ง แผนงานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์ในการจัดลำดับความสำคัญของมาตรการต่าง ที่ภาครัฐและภาคส่วนที่เกี่ยวข้องดำเนินการในพื้นที่กรุงเทพมหานคร โดยใช้แบบจำลองการตัดสินใจเชิง

นักวิจัย: ศ.ร.ต.อ.หญิง ภกญ. สุชาดา สุขหร่อง ประเภทโครงการ: โครงการเดี่ยว

แผนงานวิจัยนี้เน้นการบูรณาการองค์ความรู้จากหลากหลายสาขาในการแก้ปัญหาฝุ่น PM2.5 โดยมุ่งหวังให้ได้มาซึ่งผลิตภัณฑ์นวัตกรรมหลากหลายรูปแบบ ได้แก่ ผลิตภัณฑ์ทางกายภาพเพื่อลดการสัมผัสฝุ่น PM2.5 และผลิตภัณฑ์จากสารธรรมชาติหรือสมุนไพรที่ใช้ในการบริโภคเพื่อป้องกันผลกระทบจาก PM2.5 โดยมีจุดเชื่อมโยงสำคัญคือ การใช้สารธรรมชาติเพื่อเพิ่มคุณค่าให้แก่ผลิตภัณฑ์

ในปัจจุบัน ประชาชนมีความตระหนัก

นักวิจัย: รศ. นพ.กมล แก้วกิติณรงค์ ประเภทโครงการ: แผน

การศึกษาในอดีตจากต่างประเทศเชื่อมโยงความสัมพันธ์ระหว่างระดับ PM2.5 ที่สูงขึ้นเกินค่ามาตรฐานความปลอดภัย กับปัญหาทางสาธารณสุข ในลักษณะต่างๆ ได้แก่ การเสียชีวิต การเจ็บป่วยจากโรคต่างๆที่เกี่ยวข้อง นำไปสู่การสูญเสียทางเศรษฐกิจ ข้อมูลดังกล่าวในเขตกรุงเทพมหานครยังไม่มีเพียงพอ คณะผู้วิจัยจึงออกแบบการศึกษาเพื่อหาความสัมพันธ์ของ PM2.5 กับผลกระทบด้านสุขภาพ คุณภาพชีวิต และการสูญเสียทางเศรษฐกิจในประชากรกรุงเทพมหานคร เป็นสองส่วน คือ 1. การศึกษาแบบย้อนหลังเกี่ยวกับความสัมพันธ์ของ PM2.5 กับการรับการบริการในโรงพยาบาลทั้งแบบผู้ป่วยนอกและผู้ป่วยใน และการเสียชีวิตในช่วงปี 2558-2563 ในเขตกรุงเทพมหานคร ด้วยวิธี Poisson Regression Model และ 2. การศึกษาแบบไปข้างหน้าเพื่อประเมินผลกระทบด้านคุณภาพชีวิตที่เสียไปในผู้ป่วยโรคทางเดินหายใจเรื้อรังโดยใช้แอพพลิเคชั่นในโทรศัพท์มือถือเก็บข้อมูลอย่างต่อเนื่องเกี่ยวกับ อาการผิดปกติ แบบสอบถามประเมินคุณภาพชีวิต นอกจากนี้ ยังได้มีการประเมินมูลค่าต้นทุนทางเศรษฐกิจทั้งทางตรงและทางอ้อมจากการเสียชีวิตก่อนวัยอันควรจาก PM2.5 ใช้วิธี Human Capital Approach และวิธี Cost of Illness

ผลการศึกษาแสดงให้เห็นถึงความเชื่อมโยงระหว่างการเสียชีวิตและการเจ็บป่วยในกรุงเทพมหานครและการรับสัมผัสต่อ PM2.5 ทุกความเข้มข้นที่เพิ่มขึ้น 10 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร ที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพประชากรกรุงเทพมหานครทำให้เกิดการเสียชีวิตก่อนวัยอันควรและการเจ็บป่วยจนต้องเข้ารับการรักษาพยาบาล โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากโรคระบบหัวใจและหลอดเลือดและโรคระบบทางเดินหายใจ ผลกระทบที่เกิดขึ้นมีความแตกต่างกันระหว่างกลุ่มประชากร โดยผลกระทบด้านการเสียชีวิตเกิดขึ้นสูงสุด คือ ร้อยละ

3.12 ในกลุ่มโรคระบบหัวใจและหลอดเลือดในกลุ่มวัยทำงานอายุ 15-64 ปี รองลงมาได้แก่ ร้อยละ 1.39 ในกลุ่มโรคระบบทางเดินหายใจ ผลกระทบต่อการเสียชีวิตเกิดขึ้นในวันแรกๆ หลังรับสัมผัส PM2.5 ในกลุ่มโรคหัวใจและหลอดเลือด แต่อาจจะเกิดตามมาในช่วงระยะเวลาหนึ่งหลังจากการรับสัมผัสฝุ่น PM2.5 ในกลุ่มโรคระบบทางเดินหายใจ ผลกระทบยังรวมถึงการสูญเสียคุณภาพชีวิตในกลุ่มผู้ป่วยโรคทางเดินหายใจเรื้อรังโดยพบความชุกของภาวะซึมเศร้าในกลุ่มผู้ป่วยร้อยละ 30.6 วิตกกังวลร้อยละ 28.6 และ เครียดร้อยละ 26.5 อาการไอ และรู้สึกมีเสมหะมากขึ้น ความสูญเสียต่อสุขภาพจากการเข้ารักษาพยาบาลและการเสียชีวิตก่อนวัยอันควรส่งผลกระทบต่อต้นทุนทางเศรษฐศาสตร์ตลอดช่วงการศึกษาที่สามารถหลีกเลี่ยงได้เป็นมูลค่าอยู่ที่ประมาณ 2,200 ล้านบาท หรือเฉลี่ยปีละ 370 ล้านบาท

ภาพรวมของผลการศึกษาชี้ให้เห็นถึงความจำเป็นอย่างเร่งด่วนในใช้มาตรการที่มีประสิทธิภาพในกรุงเทพมหานคร เพื่อลดการความสูญเสียทั้งทางสุขภาพและเศรษฐกิจที่เกิดจากมลพิษทางอากาศ โดยเฉพาะในกลุ่มประชากรเปราะบาง และประชากรกลุ่มวัยทำงานที่มีแนวโน้มได้รับสัมผัสต่อมลพิษทางอากาศสูง

 

คำสำคัญ: PM2.5 การเสียชีวิต กลุ่มโรคระบบทางเดินหายใจ กลุ่มโรคระบบหัวใจและหลอดเลือด คุณภาพชีวิต ต้นทุนทางเศรษฐศาสตร์

นักวิจัย: ผศ. ดร.จิตรตรา เพียภูเขียว ประเภทโครงการ: โครงการเดี่ยว

ปัญหาไฟป่าในอุทยานแห่งชาติแม่ปิง จ.ลำพูนมีความรุนแรงมากเป็นอันดับต้นของประเทศ และเป็นสาเหตุหลักที่ก่อให้เกิดหมอกควัน PM2.5 ที่สำคัญในพื้นที่ภาคเหนือ ซึ่งสาเหตุหลักของไฟป่าเหล่านี้มาจากปัญหาปากท้องของชาวบ้านซึ่งต้องพึ่งพาป่าในการดำรงชีวิต เช่น ต้องการเห็ดเผาะ และผักหวานป่า เพื่อเป็นอาหารและสร้างรายได้ โดยขาดความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้อง ดังนั้น โครงการวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์ในปีแรก ได้แก่ 1.) ลดการเผาป่าและ PM 2.5 ด้วยการฟื้นฟูป่าชุมชนและเพิ่มผลผลิตเห็ดเผาะในพื้นที่ป่าชุมชนโดยการไม่เผาป่า 2.) สร้างป่าไม้พื้นถิ่นต้นแบบ ที่เป็นแหล่งอาหารและรายได้อย่างยั่งยืน สำหรับการดำเนินการวิจัยแบ่งออกเป็น 2 ส่วน ได้แก่ การทำวิจัยและการขยายผล ในการทำวิจัยแบ่งออกเป็น 2 พื้นที่ ในพื้นที่แรกเป็นการฟื้นฟูป่าชุมชนด้วยราไมคอร์ไรซาเห็ดเผาะ โดยวางแปลงศึกษาในพื้นที่ป่าชุมชนบ้านก้อทุ่ง และ ป่าชุมชนบ้านห้วยทรายขาว อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน แต่ละพื้นที่แบ่งเป็นแปลงทดลองใส่ราไมคอร์ไรซาเห็ดเผาะ และ แปลงทดลองควบคุมที่ไม่ใส่ราไมคอร์ไรซาเห็ดเผาะ แปลงละ 3 ซ้ำ จากการตรวจสอบรากไมคอร์ไรซาในป่าชุมชนบ้านก้อทุ่งและบ้านห้วยทรายขาวด้วยวิธีทางสัณฐานวิทยาและอณูชีววิทยา ทุก 3 เดือน ระหว่างพฤษภาคม 2564 ถึงกุมภาพันธ์ 2565 พบจำนวนปลายรากเฉลี่ย 53 และ 283 ปลายรากต่อตัวอย่าง จำแนกเป็นลักษณะรากไมคอร์ไรซา 12 และ 16 ลักษณะตามลำดับ ถึงแม้ว่ายังไม่พบรากไมคอร์ไรซาเห็ดเผาะ แต่พบการเปลี่ยนแปลงของจำนวนรากไมคอร์ไรซาและคุณสมบัติดินในรอบปี เป็นข้อมูลพื้นฐานสำคัญที่นำมาประยุกต์ใช้ราไมคอร์ไรซาเห็ดเผาะเพื่อเพิ่มผลผลิตของเห็ดเผาะให้ประสบความสำเร็จในอนาคต ส่วนงานวิจัยในอีกพื้นที่เป็นการปลูกป่าต้นแบบในพื้นที่รอยต่ออุทยานด้วยกล้าไม้วงศ์ไม้ยางร่วมกับการใช้ราไมคอร์ไรซาเห็ดเผาะ โดยสร้างแปลงปลูกป่าขนาด 15 ไร่ ในเขตอุทยานซึ่งแต่เดิมถูกบุกรุกทำการเกษตร ใช้ปลูกป่า 3 ประเภท ๆ ละ 5 ไร่ ได้แก่ ป่าเต็งรัง เบญจพรรณ และเต็งรังผสมเบญจพรรณ โดยใช้ระยะปลูก 4 ระยะ ใช้กล้าไม้พื้นถิ่น 13 ชนิด เป็นจำนวน 6,888 ต้น หลังจากย้ายปลูก 7 เดือนพบว่ากล้าไม้มีอัตราการรอดร้อยละ 76-98 และมีการเจริญเติบโตดี มีความสูงเฉลี่ยประมาณ 30 เซนติเมตร จากการวิเคราะห์สังคมราในดินก่อนปลูก พบว่าส่วนใหญ่เป็นราในไฟลัม Ascomycota ซึ่งทำหน้าที่เป็นผู้ย่อยสลาย...

นักวิจัย: รศ.ดร.ศิริมา ปัญญาเมธีกุล ประเภทโครงการ: โครงการเดี่ยว

รัฐบาลได้ประกาศให้การแก้ไขปัญหาฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอนเป็นวาระแห่งชาติ ตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2562 แต่ปัญหานี้ก็ยังถูกตั้งคำถามว่า “สาเหตุและการแก้ไขนั้นถูกต้องเหมาะสมหรือไม่” โดยเฉพาะแหล่งกำเนิดจากภาคการขนส่ง แผนงานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์ในการจัดลำดับความสำคัญของมาตรการต่างๆที่ภาครัฐและภาคส่วนที่เกี่ยวข้องดำเนินการในพื้นที่กรุงเทพมหานครด้วยแบบจำลองการตัดสินใจเชิงนโยบายอย่างง่าย โดยแบบจำลองฯ นี้ เป็นผลผลิตที่เกิดจากความเชื่อมโยงของโครงการย่อย ได้แก่ (ก) การตรวจวัดและวิเคราะห์องค์ประกอบทางเคมี (ข) ความสัมพันธ์ระหว่างการจราจรและฝุ่น และ (ค) แบบจำลอง การกระจายตัวของฝุ่นจากแหล่งกำเนิดในและนอกพื้นที่ รวมถึงอิทธิพลของความเป็นเมือง ผลจากการประเมินมาตรการของรัฐด้วยแบบจำลองการตัดสินใจเชิงนโยบายอย่างง่ายเพื่อลดปัญหาPM2.5 ในกรุงเทพฯ และปริมณฑลได้ ดังนี้ (1) การจัดการวัสดุทางการเกษตร ได้แก่ การทำปุ๋ยหมักและ ฟางข้าวแปรรูปลดฝุ่นได้ร้อยละ 26 (2) ฝุ่นลดลงร้อยละ 20 สำหรับนโยบายส่งเสริมยานพาหนะไฟฟ้าโดยเฉพาะรถขนส่งสาธารณะ (3) การติดตั้ง DieselParticulateFilter (DPF) ในรถโดยสารประจำทาง รถบรรทุกมีประสิทธิภาพลดฝุ่นได้ร้อยละ 18 (4) การตรวจจับควันดำฝุ่นลดลงได้ร้อยละ 4 และ (5) การลดปริมาณซัลเฟอร์ในน้ำมันเชื้อเพลิงเบนซินลดฝุ่นได้ร้อยละ 3 โดยเน้นที่การควบคุมแหล่งกำเนิดมลพิษ (Source) ที่สำคัญในพื้นที่กรุงเทพฯ และปริมณฑล ได้แก่ ภาคการขนส่ง ฝุ่นทุติยภูมิ/ภาคอุตสาหกรรม และการเผาในที่โล่ง ซึ่งภาครัฐได้กำหนดมาตรการเหล่านี้ บ้างแล้วแต่ต้องมีเป้าหมายที่ชัดเจนในการกำหนดนโยบาย/กฎหมาย โดยพิจารณาทั้งในมิติของแหล่งกำเนิดและมิติของเวลา และดำเนินการให้สอดคล้องกับ Next Stage And Development Measures ของ Asian Co-benefits Partnership (ACP) การควบคุมแหล่งกำเนิดจากภาคการขนส่งและความหนาแน่นของการจราจรในเมือง ควรพิจารณา ในมิติของการทำให้การเดินทางของคนเมืองมีความปลอดภัย ประหยัด รัก(ษ์)สิ่งแวดล้อม ซึ่งคือ การปรับปรุงระบบขนส่งสาธารณะ ระบบนิเวศของการใช้จักรยานและการเดินเท้า ในด้านการควบคุมการเผาในที่โล่ง ควรพิจารณาในมิติการจัดการปัญหาเศษวัสดุทางการเกษตรแบบครบวงจร (Better Management Of Agricultural Crop Residues) จึงเป็นการจัดการคุณภาพอากาศแบบยั่งยืน

 

คำสำคัญ: เครื่องคัดฝุ่นละอองขนาดนาโน/ การวิเคราะห์องค์ประกอบทางเคมี/ แบบจำลองการแยกตัวประกอบเชิงบวก / ส่วนประกอบการจราจร/ บัญชีการระบายมลพิษ/ แบบจำลองประเมินการกระจายตัวของมลพิษอากาศ/...

Copyright © 2025 HTAPC-NRCT-CCCACC-TU | Hub of Talents on Air Pollution and Climate Inspiro Theme by WPZOOM