
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการเตรียมกระถางชีวมวลจากฟางข้าว โดยใช้น้ำยางพรีวัลคาไนซ์ (PVL) และแป้งมันสำปะหลัง (ST) เป็นสารประสานและเคลือบผิวด้านในของกระถางชีวมวลด้วยไฮโดรเจล เพื่อควบคุมการปลดปล่อยปุ๋ยยูเรีย การดำเนินการวิจัยประกอบด้วย 4 ส่วนหลัก ดังนี้
(1) การศึกษาสภาวะที่เหมาะสมในการขึ้นรูปแผ่นคอมโพสิตจากฟางข้าวด้วยเทคนิค

โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อขยายกำลังการผลิตวัสดุคอมพอสิทของไฮดรอกซีอะพาไทต์และไททาเนียมไดออกไซด์ เพื่อใช้เป็นสารเคลือบแผ่นกรองสำหรับหน้ากากอนามัยที่มีประสิทธิภาพในการกรองฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM2.5) ซึ่งมีขนาดอนุภาคเฉลี่ยเล็กกว่า 2.5 ไมครอน ในระดับอุตสาหกรรม อันจะส่งผลให้สามารถลดผลกระทบต่อสุขภาพ โดยเฉพาะระบบทางเดินหายใจของประชาชนที่เกิดจากฝุ่นละอองขนาดเล็กในระดับ PM2.5 และลด

การศึกษานี้มุ่งเน้นการวิเคราะห์การเกิดฝุ่น PM2.5 ทุติยภูมิในบรรยากาศของกรุงเทพมหานครและปริมณฑล โดยใช้แบบจำลองคุณภาพอากาศ WRF-CAMx ร่วมกับบัญชีการปล่อยมลพิษทางอากาศความละเอียดสูง (High Resolution Emission Inventory) ที่จัดทำขึ้นเป็นการเฉพาะสำหรับประเทศไทยในปี พ.ศ. 2562 (ค.ศ. 2019) โดยคำนึงถึงการกระจายตัวเชิงพื้นที่และช่วงเวลาการปล่อย (Spatial-Temporal Distribution)
ผลการศึกษาพบว่า

ปัญหามลพิษทางอากาศในภาคเหนือของไทยมีความรุนแรงและต่อเนื่องมาเป็นเวลานานกว่า 10 ปี โดยมีสาเหตุหลักมาจากการเผาชีวมวลทั้งในป่าและพื้นที่เกษตรกรรม การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์ในการวิเคราะห์ปริมาณฝุ่น PM2.5 ในจังหวัดเชียงใหม่ ภายใต้การจำลองสถานการณ์ควบคุมสัดส่วนแหล่งกำเนิดด้วยแบบจำลอง WRF-Chem เพื่อใช้ประกอบการประเมินมาตรการบริหารจัดการปัญหามลพิษทางอากาศของจังหวัดเชียงใหม่ และเพื่อเสนอมาตรการในการบริหารจัดการปัญหาฝุ่น PM2.5 จากแหล่งกำเนิด สำหรับวิธีการดำเนินงานแบ่งออกเป็นสองกิจกรรม กิจกรรมที่ 1 ได้ทำการประเมินปริมาณฝุ่น PM2.5 ในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ ในปี พ.ศ.2562 ภายใต้การจำลองสถานการณ์ควบคุมแหล่งกำเนิดด้วยแบบจำลอง WRF-Chem โดยแบ่งออกเป็นสี่แหล่งกำเนิด ได้แก่ การเผาชีวมวลในพื้นที่เกษตรกรรม การเผาชีวมวลในพื้นที่ป่า การคมนาคม และมลพิษทางอากาศข้ามแดน โดยแบ่งเงื่อนไขการทดลองออกเป็น 3 กรณี ได้แก่ กรณีมีการปล่อยมลพิษทั้งหมด (100%) กรณีมีการปลดปล่อยกึ่งหนึ่ง (50%) และกรณีไม่มีการการปลดปล่อยจากแหล่งกำเนิด (0%) รวมทั้งหมด 12 ภาพฉาย ซึ่งในกรณี มีการปลดปล่อยทั้งหมด (100%) ได้ทำการวิเคราะห์สัดส่วนจากแหล่งกำเนิดทั้งสี่แหล่ง และกรณีอื่นทำการวิเคราะห์ค่าและร้อยละของปริมาณความเข้มข้นฝุ่น PM2.5 หลังจากการจำลองการควบคุมแหล่งกำเนิด กิจกรรมที่ 2 ทำการประเมินมาตรการบริหารจัดการปัญหามลพิษทางอากาศของจังหวัดเชียงใหม่เพื่อเสนอมาตรการ ลดการปลดปล่อยฝุ่น PM2.5 ด้วยการทบทวนนโยบายและเอกสารที่แสดงถึงบทบาทการจัดการจากภาครัฐ ภาควิชาการ ภาคประชาสังคม ภาคเอกชน และภาคท้องถิ่นและประชาชน รวมถึงจัดการประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อระดมความคิดเห็นจากภาคส่วนที่เกี่ยวข้องในการจัดการปัญหาหมอกควันในจังหวัดเชียงใหม่จำนวน 2 ครั้ง เพื่อกำหนดข้อเสนอแนะเชิงมาตรการที่เหมาะสมของจังหวัดเชียงใหม่ ผลจากภาพฉายของแบบจำลอง พบว่าสัดส่วนจากแหล่งกำเนิดทั้งหมด พบการปลดปล่อยมลพิษสูงสุดจากการเผาชีวมวลในที่โล่ง (60%) เมื่อแยกวิเคราะห์สัดส่วนการปลดปล่อยจากการเผาชีวมวล พบว่ามลพิษข้ามแดนมีสัดส่วนมากที่สุดกว่า 55% รองลงมาได้แก่ การเผาชีวมวลในพื้นที่ป่า 26% และการเผาชีวมวลในพื้นที่เกษตร 19% ส่วนการปลดปล่อยจากการคมนาคมทางบกมีสัดส่วน 14% จากการสร้างภาพฉายเพื่อควบคุมแหล่งกำเนิดโดยการลดการเผาชีวมวลจากภายนอกจังหวัดเชียงใหม่ให้ลดลงกึ่งหนึ่ง (50%) สามารถลดปริมาณฝุ่น PM2.5 ได้ถึง 37% แต่หากสามารถควบคุมการเผาชีวมวลจากภายนอกจังหวัดเชียงใหม่ได้ทั้งหมด (100%) จะสามารถลดปริมาณฝุ่น PM2.5 ได้ถึง 54% อย่างไรก็ตามการลดการเผาชีวมวลในพื้นที่ป่าและพื้นที่เกษตรสามารถช่วยลดฝุ่นได้เพียง 19% – 27% เนื่องจากยังคงมีผลกระทบจากมลพิษข้ามแดนจากภายนอกจังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งผลจากแบบจำลองมีความสอดคล้องกับปัญหามลพิษข้ามแดนซึ่งเป็นช่องว่างทั้งในเชิงนโยบายและปฏิบัติที่ส่งผลกระทบต่อประชาชน มากที่สุด ด้วยช่องว่างเชิงนโยบายที่ปรากฏในปัจจุบัน ผู้วิจัยจึงนำผลการวิเคราะห์ภาพฉายจากการควบคุมการปลดปล่อยแบบกึ่งหนึ่ง (50%) เป็นปัจจัยสำคัญในการกำหนดมาตรการสำคัญเพื่อการบริหารจัดการมลพิษทางอากาศของจังหวัดเชียงใหม่ในปี...

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความเข้มข้นและองค์ประกอบทางเคมีของฝุ่นละอองขนาดเล็กกว่า 2.5 ไมครอน (PM2.5) ตามการเปลี่ยนแปลงของฤดูกาลในเขตจังหวัดพิษณุโลก รวมทั้งจําแนกประเภทและสัดส่วนแหล่งกําเนิดของฝุ่น PM2.5 การศึกษาความเข้มข้นของฝุ่น PM2.5 โดยการเก็บตัวอย่างต่อเนื่อง 24 ชั่วโมง ตั้งแต่เดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2563 ถึง เดือนมีนาคม พ.ศ. 2564 ในพื้นที่ศึกษา 2 พื้นที่ ได้แก่ พื้นที่เมืองและพื้นที่กึ่งเมือง พบว่าค่าความเข้มข้นของฝุ่น PM2.5 ในเขตพื้นที่เมือง มีค่าเฉลี่ยอยู่ในช่วง 10.9±3.9 -70.7±14.7 μg/m3และมีค่าเกินมาตรฐานคุณภาพอากาศในบรรยากาศทั่วไปที่กําหนดไว้ 50 μg/m3 อยู่ 3 เดือน คือ เดือน มกราคม-มีนาคม พ.ศ. 2564 ส่วนฝุ่น PM2.5 ในเขตพื้นที่กึ่งเมืองมีค่าเฉลี่ยอยู่ในช่วง 16.8±9.6 - 84.6±18.5 μg/m3 และมีค่าเกินมาตรฐาน อยู่ 4 เดือน คือ เดือน ธันวาคม พ.ศ. 2563 - มีนาคม พ.ศ. 2564 ผลการวิเคราะห์องค์ประกอบทางเคมี พบว่าสัดส่วนองค์ประกอบทางเคมีในฝุ่น PM2.5 ในเขตพื้นที่เมืองมีองค์ประกอบคาร์บอนมากที่สุด รองลงมาคือแอนไอออน แคทไอออน และปริมาณธาตุพบน้อยสุดตามลําดับ รวมทั้งหมดคิดเป็น 98% ของปริมาณฝุ่น PM2.5...

งานวิจัยนี้ได้นำเทคนิคทางนิวเคลียร์ ได้แก่ เทคนิคการอาบรังสีนิวตรอน (NAA) และเทคนิคการเหนี่ยวนำอนุภาคให้ปลดปล่อยรังสีเอ็กซ์ (PIXE) มาใช้ร่วมกับเทคนิคมาตรฐานอินดักทีพลีคัพเปิลพลาสมาแมสสเปกโตรเมตรี (ICP-MS) ในการวิเคราะห์หาองค์ประกอบทางเคมีของฝุ่นละออง PM2.5 จากแหล่งกำเนิดฝุ่นหลักที่ได้จากการเผาไหม้วัสดุชีวมวลและดิน วัสดุชีวมวลที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ประกอบด้วย ฟางข้าว, ชานอ้อย, ข้าวโพด, เปลือกข้าวโพด, ซังข้าวโพด, ใบมันสำปะหลัง, หญ้า, ไม้สัก, ถ่าน, กาบมะพร้าว, ใบสัปปะรด และใบไผ่ เพื่อนำไปจัดทำรูปแบบ chemical source profile ในการจำแนกแหล่งกำเนิดฝุ่น ผลการทดลองพบว่ารูปแบบ chemical source profile ของแหล่งกำเนิดฝุ่นที่ได้จากการเผาไหม้วัสดุชีวมวลแต่ละชนิดมีรูปแบบที่คล้ายคลึงกันยกเว้นไม้สัก และยังพบว่า K และ Cl มีสัดส่วนความเข้มข้นสูงที่สุด อยู่ในช่วงระหว่างร้อยละ 51.07 ถึง 73.83 และ 8.46 ถึง 35.13 ตามลำดับ ขณะที่ Ca และ Si ถูกพบเป็นองค์ประกอบร่วมด้วย โดยมีสัดส่วนความเข้มข้นอยู่ในช่วงระหว่างร้อยละ 2.83 ถึง 11.45 และ 1.88 ถึง 4.97 ตามลำดับ นอกจากนี้ธาตุอื่นๆ ส่วนใหญ่ที่ตรวจพบ ซึ่งได้แก่ Cr, Ni, Cu, V, Dy, Er, Eu, Ga, Gd, Nd, Pb, Pr, Sm และ Th มีสัดส่วนความเข้มข้นที่ค่อนข้างต่ำ (น้อยกว่าร้อยละ 1.81) ในกรณีของฝุ่นที่มาจากดิน พบว่ามี Fe และ Ca ในสัดส่วนที่สูงที่สุด โดยมีค่าสัดส่วนความเข้มข้นร้อยละ 42.60 และ 24.85 ตามลำดับ นอกจากนี้ยังตรวจพบธาตุสำคัญอื่นๆ อีก ได้แก่ K (ร้อยละ...

ประเทศไทยมีพื้นที่ปลูกข้าวประมาณ 65 ล้านไร่ โดย 69 เปอร์เซ็นต์ของพื้นที่ปลูกข้าวทั้งหมด เกษตรนิยมเผาตอซังและฟางข้าว ซึ่งการเผานาส่งผลให้สูญเสียธาตุอาหารในดินคิดเป็นเงิน 11,468 ล้านบาท ยิ่งไปกว่านั้น ยังสร้างมลพิษ PM2.5 ซึ่งมี black carbon ที่มีคุณสมบัติในการดูดกลืนรังสีดวงอาทิตย์ ทาให้โลกร้อนขึ้นอย่างต่อเนื่อง โครงการนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อลดมลพิษทางอากาศ PM 2.5 ที่เกิดจากการเผาตอซังข้าว ลดต้นทุนการผลิตข้าว และเพิ่มความคุ้มค่าในการผลิตข้าวด้วยปุ๋ยคอกอัดเม็ดผสมจุลินทรีย์ เมื่อเทียบกับการใช้ปุ๋ยประเภทอื่น ๆ ดาเนินการถ่ายทอดองค์ความรู้และเทคโนโลยี ได้แก่ การขยายเพิ่มปริมาณจุลินทรีย์ย่อยสลายตอซังฟางข้าวไว้ใช้เองภายในชุมชน กระบวนการผลิตปุ๋ยคอกอัดเม็ดผสมจุลินทรีย์ย่อยสลายตอซังฟางข้าว การวิเคราะห์ต้นทุนของปุ๋ยคอกอัดเม็ดผสมจุลินทรีย์ย่อยสลายตอซังฟางข้าว การประยุกต์ใช้ปุ๋ยคอกอัดเม็ดผสมจุลินทรีย์ย่อยสลายตอซังฟางข้าว (อัตราการใช้และวิธีการใช้) และการปลูกจิตสานึก การดูแลสิ่งแวดล้อม ลดฝุ่น PM2.5 ที่เกิดจากการเผาในพื้นที่เกษตร รวมทั้งทาแปลงนาสาธิตเพื่อแสดงวิธีการใช้ปุ๋ยคอกอัดเม็ดผสมจุลินทรีย์ในการย่อยสลายตอซังและฟางข้าว สาหรับทดแทนการเผานาและลดฝุ่น PM2.5 ให้แก่กลุ่มเกษตรกรใน 10 พื้นที่เป้าหมาย จานวน 400 คน เกิดความเชื่อมั่น รวมทั้งสาธิตการผลิตและใช้น้าหมักหัวเชื้อ อีเอ็ม ร่วมกับปุ๋ยคอกอัดเม็ดผสมจุลินทรีย์ในการย่อยสลายตอซังและฟางข้าว และสาธิตการผลิตและใช้หัวเชื้อแบคทีเรีย B. subtilis TU-Orga1 สาหรับกระตุ้นภูมิคุ้มกันพืชและเพิ่มผลผลิตข้าว ผลการดาเนินการพบว่า การถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตและการใช้ปุ๋ยคอกอัดเม็ดผสมจุลินทรีย์ย่อยสลายตอซังและฟางข้าว ในพื้นที่เป้าหมาย 10 พื้นที่ และพื้นที่ขยายผลอีก 11 พื้นที่ รวมเป็นพื้นที่ที่มีการนาองค์ความรู้ไปประยุกต์ใช้เท่ากับ 11,421 ไร่ คิดเป็นพื้นที่เผานาประมาณ 9,840 ไร่ ซึ่งคิดเป็นตอซังและฟางข้าวที่จะถูกเผาประมาณ 6,396 ตัน ทาให้สามารถลดปริมาณการปล่อย black carbon ได้มากถึง 496.10 กิโลกรัมต่อปี นอกจากนี้ ปุ๋ยคอกอัดเม็ดผสมจุลินทรีย์ย่อยสลายตอซังฟางข้าว ยังช่วยปรับปรุงบารุงดินส่งผลให้ดินนามีอินทรียวัตถุเพิ่มขึ้น 54.08 100 เปอร์เซ็นต์ และทาให้มีธาตุอาหารพืช ได้แก่ ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และโพแทสเซียม เพิ่มขึ้น ซึ่งเป็นผลดีต่อการปลูกข้าวในฤดูถัด ๆ ไป การใช้ปุ๋ยคอกอัดเม็ดผสมจุลินทรีย์ย่อยสลายตอซังและฟางข้าว สามารถลดต้นทุนการผลิตและสร้างรายได้จากการสร้างมูลค่าเพิ่มของเหลือทางการเกษตร จากการใช้ปุ๋ยหมักจากฟางข้าวผสมจุลินทรีย์ได้ 1,292 บาทต่อไร่ คิดเป็นต้นทุนการผลิตข้าวที่ลดลงเท่ากับ...

เครื่องตรวจวัดฝุ่นละอองขนาดเล็กระบบเซ็นเซอร์มักพบปัญหาในการให้ค่าตรวจวัดที่ไม่ตรงกับเครื่องตรวจวัดมาตรฐาน ซึ่ง USEPA ได้ให้แนวทางสากลในการเปรียบเทียบเครื่องตรวจวัดฝุ่นละอองทั้งสองประเภท เพื่อให้ค่าฝุ่นที่ตรวจวัดได้มีความน่าเชื่อถือ เครื่องตรวจวัด DustBoy ที่ปัจจุบันมีฐานผู้ใช้งานเพิ่มมากขึ้นอย่างต่อเนื่องจึงจำเป็นต้องมีการทดสอบประสิทธิภาพของเครื่องตรวจวัดและเพิ่มความแม่นยำของค่าฝุ่นที่ต้องเผยแพร่ให้สาธารณชน โดยมีการศึกษาเปรียบเทียบกับวิธีการตรวจวัดตามมาตรฐาน USEPA และศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการทำงานของเครื่อง ซึ่งในงานวิจัยนี้ได้มีการทดสอบประสิทธิภาพเบื้องต้นของเครื่องก่อนการนำไปใช้งานและมีการทดสอบตามวิธีมาตรฐาน โดยการเทียบวัดกับเครื่องสร้างฝุ่นในห้องปฏิบัติการ และเครื่องมาตรฐานที่ใช้วิธีการตรวจวัดแบบ FRM (Federal Reference Method) และ FEM (Federal Equivalent Method) ในภาคสนามตามที่ USEPA กำหนด ซึ่งพบว่าค่าที่วัดได้จากเครื่อง DustBoy จะแตกต่างจากเครื่องมาตรฐานมากขึ้นตามช่วงค่าฝุ่นที่สูงขึ้น แต่ยังคงมีความสอดคล้องกัน โดยในช่วงค่าฝุ่นต่ำกว่า 100 μg/m3 เครื่อง DustBoy วัดค่าฝุ่นได้สูงกว่าค่าฝุ่นมาตรฐานในห้องปฏิบัติการและเครื่อง FRM แต่วัดได้ค่าต่ำกว่าเครื่อง FEM ส่วนในช่วงค่าฝุ่นสูงกว่า 100 μg/m3 ถึงแม้ค่าที่ได้จากเซ็นเซอร์จะมีความสอดคล้องกับเครื่องมาตรฐาน แต่ค่าฝุ่นที่ตรวจวัดได้มีค่าสูงกว่ามาก นอกจากนี้ค่าฝุ่นจากเซ็นเซอร์ยังขึ้นกับอายุ การใช้งาน โดยค่าฝุ่นจะสูงขึ้นตามอายุการใช้งานที่มากขึ้น ทำให้แตกต่างจากค่ามาตรฐานมากขึ้น ส่วนโมเดลเครื่องก็ส่งผลต่อการวัดค่าฝุ่น โดยเครื่องขนาดใหญ่กว่าจะให้ค่าฝุ่นที่ใกล้เคียงกับค่ามาตรฐานมากกว่า ซึ่งสมการที่จะนำมาใช้ปรับค่าฝุ่นจะแตกต่างกันตามช่วงค่าฝุ่น อายุการใช้งานของเซ็นเซอร์ และโมเดล โดยหลังจากนำมาใช้ปรับค่าฝุ่นของ
เครื่อง DustBoy พบว่าทำให้มีค่าใกล้เคียงกับเครื่องมาตรฐาน FEM มากขึ้น ซึ่งจะได้นำสมการที่ได้ไปปรับการแสดงผลค่าฝุ่น เพื่อให้ค่าฝุ่นที่เผยแพร่มีความถูกต้องแม่นยำ รวมถึงจะมีการให้ความรู้ในการติดตั้งและดูแลเครื่องแก่ผู้ดูแลเครื่องประจำจุดติดตั้งเพื่อให้เครื่อง DustBoy ทำงานได้เต็มประสิทธิภาพและยืดอายุการใช้งาน เนื่องจากสภาพแวดล้อมของจุดติดตั้ง ระบบติดตามตรวจสอบ การประสานงาน และการบำรุงรักษาเครื่อง มีผลต่อคุณภาพของข้อมูลค่าฝุ่นที่ประชาชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องนำไปใช้ประโยชน์
คำสำคัญ: เซ็นเซอร์ต้นทุนต่ำ, ดัสท์บอย, การตรวจวัดฝุ่นละออง, คุณภาพอากาศ, ฝุ่นละอองขนาดเล็ก

งานวิจัยนี้มุ่งศึกษาการจัดการไฟในพื้นที่ป่าไม้ โดยการนำกลไกการจ่ายค่าตอบแทนระบบนิเวศ (Payment for Ecosystem Services: PES) มาปรับใช้เพื่อการจัดการไฟป่าและฝุ่นละออง PM2.5 ตลอดจนการจัดทำข้อเสนอเชิงนโยบายที่สอดคล้องกับสภาพเศรษฐกิจ สังคม และวิถีชีวิตของชุมชนในพื้นที่อุทยานแห่งชาติดอยสุเทพ-ปุย จังหวัดเชียงใหม่ การวิจัยใช้วิธีการเก็บข้อมูลภาคสนาม การสอบถามความคิดเห็น การสัมภาษณ์เชิงลึก และการสำรวจร่วมกับเจ้าหน้าที่อุทยาน โดยเน้นการมีส่วนร่วมของชุมชนทั้ง 10 ชุมชนในพื้นที่ ผลการศึกษาพบว่าการมีส่วนร่วมของชุมชนเป็นปัจจัยสำคัญในการลดการใช้ไฟและช่วยพัฒนากลไกการจ่ายค่าตอบแทนระบบนิเวศ (PES) ที่เหมาะสมกับบริบทของแต่ละพื้นที่ นอกจากนี้ยังได้จัดทำข้อเสนอเชิงนโยบายที่สอดคล้องกับพระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติ พ.ศ. 2562 (มาตรา 64 และ 65) เพื่อส่งเสริมการบริหารจัดการป่าอย่างมีส่วนร่วมและยั่งยืน งานวิจัยนี้จึงถือเป็นการสร้างองค์ความรู้ใหม่ที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์เชิงปฏิบัติในการจัดการไฟป่าและลดปัญหาฝุ่นละออง PM2.5 ในพื้นที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืน
คำสำคัญ :

วิกฤตปัญหาหมอกควันในจังหวัดเชียงใหม่มีแนวโน้มรุนแรงมากขึ้นและส่งผลโดยตรงต่อสุขภาพของเด็กนักเรียนวัยประถมศึกษาในโรงเรียนที่มีการระบายอากาศตามธรรมชาติ แม้หลายภาคส่วนจะพยายามกำหนดมาตรการต่างๆ เพื่อลดปริมาณฝุ่นละอองขนาดเล็กในอากาศแต่ยังคงพบว่าจำนวนคนป่วยจากฝุ่น PM2.5 ยังคงเพิ่มสูงขึ้น การศึกษานี้จึงต้องการหาแนวทางการป้องกันกลุ่มเสี่ยงให้สามารถดำรงชีวิตได้อย่างปลอดภัยภายใต้ปัญหาฝุ่น PM2.5 โดยใช้โรงเรียนที่มีการสอนระดับประถมศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานในอำเภอเมืองเชียงใหม่จำนวน 31 แห่งเป็นกลุ่มประชากรในการศึกษาครั้งนี้ การศึกษานี้เริ่มต้นจากการวิเคราะห์ความเปราะบางของโรงเรียนต่อความรุนแรงของฝุ่น PM2.5 ด้วยดัชนีชี้วัดด้านการเปิดรับฝุ่น PM2.5 และความสามารถในการรับมือของโรงเรียน ผลการวิจัยทำให้ทราบว่าโรงเรียนประถมศึกษาในอำเภอเมืองเชียงใหม่ส่วนใหญ่มีความเปราะบางต่อฝุ่น PM2.5 อยู่ในระดับปานกลางถึงสูงมาก สัดส่วนพื้นที่สีเขียวของโรงเรียนและทิศอาคารเรียนเป็นปัจจัยสำคัญด้านกายภาพของโรงเรียนที่มีความสัมพันธ์กับความสามารถในการลดปริมาณฝุ่น PM2.5 ในขณะที่โรงเรียนส่วนใหญ่มีความสามารถในการรับมือกับวิกฤตฝุ่น PM2.5 จำกัด ข้อมูลส่วนนี้ถูกนำไปใช้เพื่อการออกแบบภูมิทัศน์และองค์ประกอบอาคารด้วยการนำทฤษฎีการออกแบบแบบพึ่งพาธรรมชาติมาบูรณาการร่วมกับทฤษฎีการระบายอากาศด้วยวิธีธรรมชาติและพลศาสตร์ของไหล (CFD) ทำให้ได้รูปแบบการปรับปรุงภูมิทัศน์และองค์ประกอบอาคารเรียนตามทิศทางอาคารเรียนและการจัดพื้นที่ภายในห้องเรียนที่ประกอบด้วย การจัดวางตำแหน่งต้นไม้ที่เหมาะสม การวางแนวรั้วไม้พุ่มและการสร้างส่วนยื่นแนวตั้งและส่วนยื่นแนวนอนให้กับอาคารที่มีแตกต่างกันตามทิศทางการหันหน้าอาคารเรียน 8 ทิศทางพร้อมทั้งได้เสนอแนวทางการตัดสินใจเพื่อดำเนินการปรับปรุงโรงเรียนภายใต้บริบทและข้อจำกัดของโรงเรียนด้วย