No Image Available

การใช้ไม้ยืนต้นลดฝุ่น PM 2.5 อย่างยั่งยืนด้วยรูปแบบโครงสร้างและลำดับชั้นต้นไม้แบบนิเวศป่าในเมือง กรณีศึกษาสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (การใช้ไม้ยืนต้นลดฝุ่น PM 2.5 อย่างยั่งยืนด้วยรูปแบบโครงสร้างและลำดับชั้นต้นไม้แบบนิเวศป่าในเมือง)

- PM2.5 reducing sustainably by perennials tree planting with tree’s structure and pattern based on urban forest ecology :case study of National Research Council of Thailand(PM2.5 reducing sustainably by perennials tree planting with tree’s structure and pattern based on urban forest ecology)
 ผู้แต่ง:: ผศ. ดร.กัญจน์ ศิลป์ประสิทธิ์  หน่วยงาน:: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ  ปีเผยแพร่:: 2022  ประเทศ:: ไทย  ภาษา:: ไทย More Details  อ่านเพิ่มเติม
 บทคัดย่อ:

สวนภูมิทัศน์ลดฝุ่น เป็นสวนที่รวบรวมพันธุไม้ที่มีประสิทธิภาพลดฝุ่น PM2.5 โดยจัดวางพันธุ์ไม้แต่ละชนิดให้มีระยะต่างๆรูปแบบการวางต่างๆที่เหมาะสม การจัดวางต้นไม้แบบผสมผสานมีทั้งไม้ใหญ่ ไม้ขนาดกลาง ไม้ขนาดเล็กและพืชคลุมดินช่วยให้เกิดความแตกต่างของอุณหภูมิ ความเร็วลม ความชื้นแต่ละโซนทำให้เกิด Microclimate ที่ต่างกันในแต่ละโซนของสวน ทำการเก็บข้อมูลโดยติดตั้งเซนเซอร์ด้านหน้าสวน (Inlet) ความเข้มข้นของฝุ่น PM1.0 PM2.5 PM10.0 อุณหภูมิ ความชื้น ที่ระยะความสูง 1 เมตร 3 เมตร และ 6 เมตร และ ติดตั้งเซนเซอร์ที่ปลายสวน (outlet) และเปรียบเทียบกับบริเวณควบคุม ทำการเก็บข้อมูล มีนาคม 2566 จนถึงมีนาคม 2567 รวม 12 เดือน เพื่อให้ครอบคลุมทุกฤดูกาล ประสิทธิการลดฝุ่น PM2.5 ของสวนภูมิทัศน์ ที่ระดับความเข้มข้นของฝุ่น PM2.5 ต่ำกว่า 25 ug/m3 ไม่แสดงประสิทธิภาพการลดลงของฝุ่นของสวน เมื่อฝุ่นเข้ามาในสวนด้วยความเข้มข้น 70-80 ug/m3 สวนจะมีประสิทธิภาพการลดฝุ่นสูงสุดเฉลี่ย ที่ปลายสวนประมาณ 35% และที่หน้าอาคาร 7 % อย่างไรก็ตาม โดยเฉลี่ยประสิทธิภาพการลดฝุ่นที่หลังสวน (%reduction efficiency Garden) เฉลี่ยเท่ากับ 21.5 % และประสิทธิภาพการลดฝุ่นที่หน้าอาคาร วช 2 (%reduction efficiency Building) โดยเฉลี่ยเท่ากับ 4.5% ผลของทิศทางลมและความเร็วลมต่อประสิทธิภาพการลดฝุ่นของสวน เมื่อฝุ่นมาทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ NE ของสวนจะถูกทำให้ฝุ่นลดลง 22.5 % โดยเฉลี่ยเมื่อฝุ่นมาทางทิศเหนือ N ตะวันออกเฉียงเหนือ NE ตะวันออก E ตะวันออกเฉียงใต้ ES จนถึงทิศใต้ S ของสวนจะทำให้ฝุ่นลดลง 18 % ดังนั้นการออกแบบสวนดังกล่าวนี้จะป้องกันได้ดีเพียงทิศทางเหนือ ตะวันออกเฉียงเหนือ และตะวันออกเท่านั้น คือลมมาในฤดูหนาวเดือน พย-มค จึงต้องปรับปรุงสวนในแนวทิศตะวันออกเฉียงใต้ไปจนถึงทิศใต้ที่ลมมาในฤดูร้อน เดือน ก.พ. – มิ.ย. ต่อไป ผลของความเร็วลม พบว่าความเร็วลมใน 1-3 m/s สวนจะมีประสิทธิภาพการลดฝุ่นดีที่สุดคือ 15-18 % หากความเร็วลมมากกว่า 3.6 m/s ประสิทธิภาพการลดฝุ่นจะลดลงเหลือ 7-15 % อย่างไรก็ตามความเร็วลมต่ำกว่า 0.2 m/s ยังคงมีประสิทธิการลดฝุ่นได้ 15 % ในการปรับภูมิทัศน์สวนลดฝุ่นขนาด 300 ตารางเมตร ประกอบด้วยต้นไม้ที่มีประสิทธิภาพลดฝุ่นได้ 27 ชนิด สามารถช่วยลดฝุ่นได้ 399.75 กรัมต่อปี นอกจากนั้นองค์ความรู้ที่ได้ครั้งสามารถถ่ายทอดให้กับผู้สนใจทั้งเยาวชน ประชาชน ตลอดระยะเวลาดำเนินงาน 365 วัน รวมเป็นจำนวนคน กว่า 500 คน ได้รับความรู้และเห็นความสำคัญของการมีพื้นที่สีเขียว และจะช่วยเพิ่มมูลค่าของต้นไม้ที่ใช้ในการจัดสวน นำไปสู่การสร้างพื้นที่ป้องกันฝุ่นให้แก่ เด็กเล็ก ผู้สูงอายุ ผู้ป่วยและกลุ่มออ่นไหวต่อมลพิษทางอากาศได้ต่อไป ผลงานนวัตกรรมได้นำเสนอในงานประชุมวิชาการ biodiversity 2023 ณ สวนหลวง ร 9 งานนิทรรศการต่างๆของสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ และอบรมถ่ายทอดเทคโนโลยี ในปี 2566 มาอย่างต่อเนื่อง

 

เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง - โครงการเดี่ยว

Copyright © 2025 HTAPC-NRCT-CCCACC-TU | Hub of Talents on Air Pollution and Climate Inspiro Theme by WPZOOM