นักวิจัย: ผศ. ดร.กัญจน์ ศิลป์ประสิทธิ์ ประเภทโครงการ: โครงการเดี่ยว

สวนภูมิทัศน์ลดฝุ่น เป็นสวนที่รวบรวมพันธุไม้ที่มีประสิทธิภาพลดฝุ่น PM2.5 โดยจัดวางพันธุ์ไม้แต่ละชนิดให้มีระยะต่างๆรูปแบบการวางต่างๆที่เหมาะสม การจัดวางต้นไม้แบบผสมผสานมีทั้งไม้ใหญ่ ไม้ขนาดกลาง ไม้ขนาดเล็กและพืชคลุมดินช่วยให้เกิดความแตกต่างของอุณหภูมิ ความเร็วลม ความชื้นแต่ละโซนทำให้เกิด Microclimate ที่ต่างกันในแต่ละโซนของสวน ทำการเก็บข้อมูลโดยติดตั้งเซนเซอร์ด้านหน้าสวน (Inlet) ความเข้มข้นของฝุ่น PM1.0 PM2.5 PM10.0 อุณหภูมิ ความชื้น ที่ระยะความสูง 1 เมตร 3 เมตร และ 6 เมตร และ ติดตั้งเซนเซอร์ที่ปลายสวน (outlet) และเปรียบเทียบกับบริเวณควบคุม ทำการเก็บข้อมูล มีนาคม 2566 จนถึงมีนาคม 2567 รวม 12 เดือน เพื่อให้ครอบคลุมทุกฤดูกาล ประสิทธิการลดฝุ่น PM2.5 ของสวนภูมิทัศน์ ที่ระดับความเข้มข้นของฝุ่น PM2.5 ต่ำกว่า 25 ug/m3 ไม่แสดงประสิทธิภาพการลดลงของฝุ่นของสวน เมื่อฝุ่นเข้ามาในสวนด้วยความเข้มข้น 70-80 ug/m3 สวนจะมีประสิทธิภาพการลดฝุ่นสูงสุดเฉลี่ย ที่ปลายสวนประมาณ 35% และที่หน้าอาคาร 7 % อย่างไรก็ตาม โดยเฉลี่ยประสิทธิภาพการลดฝุ่นที่หลังสวน (%reduction efficiency Garden) เฉลี่ยเท่ากับ 21.5 % และประสิทธิภาพการลดฝุ่นที่หน้าอาคาร วช 2 (%reduction efficiency Building) โดยเฉลี่ยเท่ากับ 4.5% ผลของทิศทางลมและความเร็วลมต่อประสิทธิภาพการลดฝุ่นของสวน เมื่อฝุ่นมาทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ NE ของสวนจะถูกทำให้ฝุ่นลดลง 22.5 % โดยเฉลี่ยเมื่อฝุ่นมาทางทิศเหนือ N ตะวันออกเฉียงเหนือ NE ตะวันออก E ตะวันออกเฉียงใต้ ES จนถึงทิศใต้ S ของสวนจะทำให้ฝุ่นลดลง 18 % ดังนั้นการออกแบบสวนดังกล่าวนี้จะป้องกันได้ดีเพียงทิศทางเหนือ ตะวันออกเฉียงเหนือ และตะวันออกเท่านั้น คือลมมาในฤดูหนาวเดือน พย-มค จึงต้องปรับปรุงสวนในแนวทิศตะวันออกเฉียงใต้ไปจนถึงทิศใต้ที่ลมมาในฤดูร้อน เดือน...

Copyright © 2025 HTAPC-NRCT-CCCACC-TU | Hub of Talents on Air Pollution and Climate Inspiro Theme by WPZOOM