No Image Available

การระบบการจัดการบัญชีการระบายมลพิษทางอากาศแบบใกล้เคียงเวลาจริง สำหรับการบริหารจัดการระดับจังหวัด

- Development of Near Real-time Provincial Emission Inventory System
 ผู้แต่ง:: รศ. ดร.มงคล เอกปัญญาพงศ์  หน่วยงาน:: สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย  ปีเผยแพร่:: 2022  ประเทศ:: ไทย  ภาษา:: ไทย More Details  อ่านเพิ่มเติม
 บทคัดย่อ:

บัญชีการระบายมลพิษที่เป็นแบบคงที่ โดยที่ไม่ได้เปลี่ยนแปลงตามช่วงเวลาต่าง ๆ เมื่อนำข้อมูลไปใช้ร่วมกับแบบจำลอง Weather Research and Forecasting (WRF) ซึ่งมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา เพื่อประเมินการแพร่กระจายของสารมลพิษในอากาศ อาจจะส่งผลให้ผลการประเมินเกิดความคลาดเคลื่อน โครงการวิจัยนี้ จึงได้ทำการศึกษาและพัฒนาบัญชีการระบายมลพิษที่เป็นแบบ Near real-time จากแหล่งกำเนิดมลพิษหลัก 3 แหล่ง ได้แก่ จากการจราจรทางบก, การเผาในที่โล่ง และโรงงานอุตสาหกรรม ของจังหวัดปทุมธานี โดยใช้ข้อมูลจากกล้องจราจรร่วมกับ Google map API, ข้อมูลจากดาวเทียม และข้อมูล CEMS ตามลำดับ โดยข้อมูลการระบายมลพิษทั้งหมดแบบรายชั่วโมงจะถูกนำเข้ามารวมและแสดงผลบนแพลตฟอร์ม Web application เพื่อให้ประชาชนสามารถเข้าถึงแหล่งข้อมูล และสะดวกต่อการนำโมเดลไปใช้ขยายผลกับพื้นที่อื่น ๆ ผลจากการศึกษา พบว่า ปริมาณการระบายมลพิษจากการจราจรทางบกในวันธรรมดาจะเกิดสูงสุดในช่วงเวลา 18.00 น. และจะสูงกว่าในช่วงวัดหยุดสุดสัปดาห์ เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกัน โดยตำแหน่งการเกิดมลพิษสูงสุดอยู่ที่บริเวณขอบที่ติดกับจังหวัดอื่น ๆ โดยเฉพาะกรุงเทพมหานคร สำหรับปริมาณการระบายมลพิษจากการเผาในที่โล่งที่คำนวณได้จะมีค่าน้อยกว่าค่าที่เคยคำนวณไว้ในปี 2561 ถึง 78% เนื่องจากปริมาณเศษวัสดุทางการเกษตรที่น้อยกว่า และเกษตรกรเลือกกำจัดเศษวัสดุด้วยวิธีอื่น แทนการเผา และบัญชีการระบายมลพิษแบบ กึ่ง Real-time ได้ประเมินจากจุดความร้อนจากดาวเทียมระบบ VIIRS ซึ่งมีการโคจรผ่านจังหวัดปทุมธานีเพียงวันละ 2 รอบ ในช่วงเวลา 02.00 และ 13.00 เพื่อให้การจัดทำบัญชีการระบายมลพิษมีค่าใกล้เคียงกับค่าที่เกิดขึ้นจริงมากยิ่งขึ้น จำเป็นจะต้องใช้การประเมินจากร่องรอยการเผา (Burned area) มาประกอบการคำนวณ และในส่วนของการระบายมลพิษจากโรงงานอุตสาหกรรมของ จังหวัดปทุมธานี มีเพียงแค่ 6 โรงงานเท่านั้น ที่มีการติดตั้งระบบ CEMS และเป็นอุตสาหกรรมผลิตไฟฟ้าทั้งหมด บัญชีการระบายมลพิษจากโรงงานส่วนใหญ่จึงยังคงเป็นแบบคงที่ ซึ่งการระบายมลพิษจะมีมากในอุตสาหกรรมอาหาร เครื่องดื่ม และยาสูบ โดยชนิดมลพิษที่มีการระบายมากที่สุด คือ CO2 รองลงมา คือ SO2 และมลพิษที่มีการระบายน้อยที่สุด คือ NH3

 

เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง - โครงการเดี่ยว

Copyright © 2025 HTAPC-NRCT-CCCACC-TU | Hub of Talents on Air Pollution and Climate Inspiro Theme by WPZOOM