No Image Available

การปรับปรุงค่ามาตรฐานฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน (PM2.5 ) ในบรรยากาศที่เหมาะสมสำหรับประเทศไทย

- Revised National Ambient Air Quality Standard for Particulate Matter (PM2.5 )
 ผู้แต่ง:: รศ.ดร.ณัฏฐา ฐานีพานิชสกุล  หน่วยงาน:: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย  ปีเผยแพร่:: 2021  ประเทศ:: ไทย  ภาษา:: ไทย  อีเมล:: nutta.t@chula.ac.th, nutta.taneepanichskul@gmail.com More Details  อ่านเพิ่มเติม
 บทคัดย่อ:

การทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบและการวิเคราะห์อภิมานของการศึกษาระหว่าง พ.ศ. 2554 – 2564 พบว่า คนที่ได้รับสัมผัสฝุ่นละออง PM2.5 ทั้งระยะสั้นและยาวเพิ่มขึ้น 10 µg/m3 มีโอกาสในการเสียชีวิตด้วยโรคหัวใจและหลอดเลือดเพิ่มขึ้น 1.0069 เท่า (95% CI 1.0051, 1.0087; p-value < 0.0001) และเสียชีวิตด้วยโรคระบบทางเดินหายใจเพิ่มขึ้น 1.0078 เท่า (95% CI 1.0059-1.0097; p-value < 0.0001) การประเมินผลกระทบต่อสุขภาพโดยใช้โปรแกรม Air Q+ ขององค์การอนามัยโลกพบว่า เมื่อกำหนดค่าความเข้มข้นของ PM2.5 ที่ 37.5 µg/m3 จะสามารถลดความเสี่ยงของประชากรที่จะต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลจากโรคระบบทางเดินหายใจได้101 คน ต่อ 100,000 ประชากร ลดความเสี่ยงของประชากรที่จะต้องรับการรักษาโรงพยาบาลจากโรคหัวใจและหลอดเลือดได้117 คน ต่อ 100,000 ประชากรการประเมินผลกระทบต่อสุขภาพโดยใช้Environmental Benefits Mapping and Analysis Program -Community Edition เมื่อกำหนดค่าความเข้มข้นของ PM2.5 ที่ 15 µg/m3 พบว่าอัตราการตายของโรคทางเดินหายใจใน 75 จังหวัด จะมีอัตราการตายของโรคทางเดินหายใจ 0.000 – 14.624 คน/ปีในส่วนของการประเมินผลกระทบต่อสุขภาพด้วยโมเดลทางระบาดวิทยา การเพิ่มขึ้น 10% ของ PM2.5 ที่ lag 0 มีความสัมพันธ์ต่อการเพิ่มขึ้นของการเสียชีวิตทุกกลุ่มโรคในภาคเหนือร้อยละ 0.16 (95%CI : 0.06,0.26)

กรุงเทพมหานครและปริมณฑลร้อยละ 0.21 (95%CI : 0.10,0.32) นอกจากนี้การเพิ่มขึ้น 10% ของ PM2.5 ที่ lag 1 ในภาคเหนือมีความสัมพันธ์ต่อการเพิ่มขึ้นของการเข้ารับการรักษาผู้ป่วยนอกด้วยโรคหัวใจและหลอดเลือดร้อยละ 0.56 (95%CI : 0.55,0.58) และมีความสัมพันธ์กับการเข้ารับบริการผู้ป่วยในด้วยโรคระบบทางเดินหายใจเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.47 (95%CI : 0.45,0.49)

จากผลการศึกษาวิจัยของโครงการมีข้อเสนอให้มีการปรับค่ามาตรฐาน 24 ชั่วโมงในลำดับถัดไปเป็น 25 µg/m3 เพื่อลดการเข้ารับการรักษาพยาบาลด้วยโรคระบบทางเดินหายใจ และโรคหัวใจและหลอดเลือดลง 118 คน และ 136 คน ต่อ 100,000 ประชากรตามลำดับ ในส่วนของค่าเฉลี่ยรายปีมีข้อเสนอให้มีการปรับค่ามาตรฐานเป็น 10 µg/m3 เพื่อลดการเสียชีวิตลง 39 คน ต่อ 100,000 ประชากร แต่อย่างไรก็ตามการเสนอแนวทางการปรับค่ามาตรฐานตามรายงานฉบับนี้เป็นไปตามข้อจำกัดของงานวิจัยในหลายประเด็น เช่น ข้อมูลคุณภาพอากาศที่ได้มาจากการทำนายโดยโมเดล ข้อมูลการเสียชีวิต และการประเมินผลกระทบต่อสุขภาพด้วยรูปแบบโมเดล เป็นต้น

 

คำสำคัญ : ค่ามาตรฐานPM2.5 การประเมินผลกระทบต่อสุขภาพ ประเทศไทย โรคระบบทางเดินหายใจ โรคหัวใจและหลอดเลือด

เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง - โครงการเดี่ยว

Copyright © 2025 HTAPC-NRCT-CCCACC-TU | Hub of Talents on Air Pollution and Climate Inspiro Theme by WPZOOM