การจัดอบรมความรู้ด้านการจัดการมลพิษอากาศของกรุงเทพมหานคร หัวข้อ: “การจัดการมลพิษอากาศและคุณภาพอากาศ”

วันที่ 21 พฤศจิกายน 2567 ศูนย์รวมผู้เชี่ยวชาญด้านมลพิษอากาศและภูมิอากาศ (Hub of Talents on Air Pollution and Climate, HTAPC) ภายใต้สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม (อว.) จัดอบรมความรู้ด้านการจัดการมลพิษอากาศของกรุงเทพมหานครในหัวข้อ “การจัดการมลพิษอากาศและคุณภาพอากาศ” ณ โรงแรมโกลเดน ทิวลิป ซอฟเฟอริน พระราม 9 กรุงเทพมหานคร เพื่อถ่ายทอดความรู้แก่บุคลากรของกรุงเทพมหานคร ให้มีความเข้าใจเกี่ยวกับการจัดการคุณภาพอากาศ โดยเนื้อหาในการอบรมครั้งนี้ ประกอบด้วยปัญหามลพิษอากาศ ปัจจัยทางด้านแหล่งกำเนิดฝุ่นละออง PM2.5 ปัจจัยด้านอุตุนิยมวิทยาที่มีผลต่อความเข้มข้นฝุ่นละออง PM2.5 การพยากรณ์ล่วงหน้าผลกระทบต่อสุขภาพระยะสั้นจากการรับสัมผัสฝุ่นละออง PM2.5 และการประเมินมาตรการเกี่ยวกับการบริหารจัดการมลพิษอากาศในกรุงเทพมหานคร  นอกจากนี้ ผู้เข้าร่วมยังได้เรียนรู้เกี่ยวกับการใช้แบบจำลองทางอุตุนิยมวิทยาและคุณภาพอากาศ พร้อมทั้งนำเสนอแนวทางการรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในเขตเมือง เพื่อสนับสนุนการดำเนินนโยบายและมาตรการที่เหมาะสมในการจัดการมลพิษอากาศในกรุงเทพมหานคร ทั้งนี้ ในช่วงสุดท้ายของการอบรม ศูนย์รวมผู้เชี่ยวชาญฯ และผู้เข้าร่วมอบรมได้ร่วมกันเสวนาเกี่ยวกับสถานการณ์ปัญหามลพิษอากาศของกรุงเทพมหานครที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน และแลกเปลี่ยนองค์ความรู้เกี่ยวกับมาตรการในการแก้ไขปัญหามลพิษอากาศ เพื่อหาแนวทางการดำเนินงานร่วมกันของแต่ละหน่วยงานในกรุงเทพมหานครและนำไปสู่การบริหารจัดการมลพิษอากาศและคุณภาพอากาศในระยะถัดไป

การประชุมนำเสนอผลการทบทวนวรรณกรรมแบบกำหนดขอบเขตสำหรับการจัดทำฐานข้อมูลบัญชีการระบายสารมลพิษอากาศแห่งชาติของประเทศไทย

วันที่ 8 พฤศจิกายน 2567 ศูนย์รวมผู้เชี่ยวชาญด้านมลพิษอากาศและภูมิอากาศ (Hub of Talents on Air Pollution and Climate, HTAPC) ภายใต้สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม (อว.) และศูนย์ความร่วมมือด้านอากาศสะอาดและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Collaborating Center for Clean Air and Climate Change, CCCACC) ร่วมกันจัดการประชุมนำเสนอผลการทบทวนวรรณกรรมแบบกำหนดขอบเขตสำหรับ ”การจัดทำฐานข้อมูลบัญชีการระบายสารมลพิษอากาศแห่งชาติของประเทศไทย (Thailand National Emission Inventory, TNEI)” ณ โรงแรมเอเชีย เขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร และผ่านระบบออนไลน์ (Zoom Meeting) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อนําเสนอผลการทบทวนวรรณกรรม แลกเปลี่ยนความคิดเห็นและข้อเสนอแนะจากผู้ทรงคุณวุฒิ รวมถึงแลกเปลี่ยนข้อมูลที่เกี่ยวข้อง เช่น ข้อมูลค่าสัมประสิทธิ์ และ ข้อมูลกิจกรรมการระบายสารมลพิษอากาศ เป็นต้น โดย ดร.สุพัฒน์ …

การประชุมสัมมนาในระดับนานาชาติหัวข้อ “Strengthening Regional Cooperation for Clean Air and Public Health”

วันที่ 25 ตุลาคม 2567 ศูนย์รวมผู้เชี่ยวชาญด้านมลพิษอากาศและภูมิอากาศ (Hub of Talents on Air Pollution and Climate, HTAPC) ภายใต้สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม ได้เข้าร่วมการประชุมสัมมนาในระดับนานาชาติหัวข้อ “Strengthening Regional Cooperation for Clean Air and Public Health” จัดขึ้นโดย National Institute of Environmental Research (Korea, NIER) ร่วมกับ Korean Society for Atmospheric Environment (KOSAE) ซึ่งมีจุดมุ่งหมายในการแก้ไขปัญหาเร่งด่วนที่เกี่ยวข้องกับคุณภาพอากาศและสุขภาพของประชาชนในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก พร้อมทั้งผลักดันการดำเนินงานร่วมกันเพื่อคุณภาพอากาศที่ดีขึ้นในภูมิภาค โดยการประชุมจัดขึ้น ณ ศูนย์การประชุม Landing Convention Center โรงแรม Jeju …

HTAPC ร่วมกับ CCCACC เปิดพื้นที่แห่งการเรียนรู้ ภายใต้การเยี่ยมชมคณะสาธารณสุขศาสตร์ มธ. ศูนย์รังสิต ของคณะครูและนักเรียน โรงเรียนสามเสนวิทยาลัย 

วันที่ 10 ตุลาคม 2567 คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต ร่วมกับ ศูนย์รวมผู้เชี่ยวชาญด้านมลพิษอากาศและภูมิอากาศ (Hub of Talents on Air Pollution and Climate, HTAPC) ภายใต้สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม และศูนย์ความร่วมมือด้านอากาศสะอาดและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Collaborating Center for Clean Air and Climate Change, CCCACC) ต้อนรับคณะครูและนักเรียนจากโรงเรียนสามเสนวิทยาลัย กรุงเทพมหานคร ในการเข้ามาเยี่ยมชมกระบวนการเรียนการสอนของคณะสาธารณสุขศาสตร์ โดยศูนย์รวมผู้เชี่ยวชาญฯ ร่วมกับ CCCACC เป็นส่วนหนึ่งในการเปิดพื้นที่แห่งการเรียนรู้ทางด้านการจัดการปัญหามลพิษอากาศให้กับคณะครูและนักเรียน เพื่อเปิดโอกาสให้ได้เรียนรู้จากประสบการณ์จริง ศูนย์รวมผู้เชี่ยวชาญฯ นำโดย ดร.สุพัฒน์ หวังวงศ์วัฒนา ได้แนะนำศูนย์ CCCACC และศูนย์รวมผู้เชี่ยวชาญฯ จากนั้นได้สาธิตการประดิษฐ์เครื่องกรองฝุ่นที่สามารถทำได้ด้วยตนเอง พร้อมทั้งอธิบายหลักการทำงานและวิธีการดูแลรักษา และให้แง่คิดเกี่ยวกับการประดิษฐ์เครื่องกรองฝุ่นใช้เองจะช่วยลดค่าใช้จ่ายได้มากกว่าการซื้อเครื่องกรองฝุ่นตามท้องตลาดทั่วไป และยังสามารถกรองฝุ่นได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งนักเรียนสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้ นอกจากนี้ …

การประชุมสัมมนานานาชาติ หัวข้อ “Invest in Solutions to Reduce Open Burning for Clean Air”

วันที่ 5 กันยายน 2567 ศูนย์รวมผู้เชี่ยวชาญด้านมลพิษอากาศและภูมิอากาศ (HTAPC) ภายใต้สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ร่วมกับUnited Nations Environment Programme (UNEP), United Nations Economic and Social Commission for Asia and the Pacific (UNESCAP), Climate and Clean Air Coalition (CCAC) และ Embassy of the Republic of Korea (ROK) ได้จัดการประชุมสัมมนานานาชาติภายใต้หัวข้อ “Invest in Solutions to Reduce Open Burning for Clean Air” ภายใต้ International …

อว.แฟร์ : SCI POWER FOR FUTURE THAILAND

ศูนย์รวมผู้เชี่ยวชาญฯ ภายใต้การสนับสนุนของสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ได้เข้าร่วมจัดกิจกรรมภายในงาน “อว. แฟร์ : SCI POWER FOR FUTURE THAILAND” ตั้งแต่วันที่ 22-28 กรกฎาคม 2567 ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ โดยภายในบูธของศูนย์รวมผู้เชี่ยวชาญฯ ได้นำผลงานวิจัยเกี่ยวกับมลพิษอากาศมาจัดแสดงภายในงาน จำนวน 2 ชิ้นงาน ได้แก่ เครื่องวัดชนิด QCM (Quartz Crystal Microbalance) สำหรับการวัดฝุ่น PM2.5 ที่ให้ความแม่นยำ พัฒนาโดยทีมนักวิจัยจากสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) และ เครื่องตรวจวัดการระบาย PM1.0 PM2.5 และ PM10 จากปล่องแบบต่อเนื่องออนไลน์ด้วยเวลาจริง พัฒนาโดยทีมนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา นอกจากนี้ยังมีกิจกรรม “Learn Fun” บริเวณลานกิจกรรมของ วช. ที่เป็นกิจกรรมสนุกสนานให้ความรู้เกี่ยวกับมลพิษอากาศให้แก่ผู้เข้าร่วมงาน ทั้งในรูปแบบของบอร์ดเกม และเกมตอบคำถาม เพื่อชิงของรางวัลอีกด้วย วันที่ …

กิจกรรม “ระบายฝัน ปันน้ำใจ” ภายในงาน อว.แฟร์ Sci Power For Future Thailand

กิจกรรม “ระบายฝัน ปันน้ำใจ” วันที่ 22-28 กรกฎาคม 2567 ศูนย์รวมผู้เชี่ยวชาญด้านมลพิษอากาศและภูมิอากาศ ได้จัดกิจกรรม “ระบายฝัน ปันน้ำใจ” ภายในงาน อว.แฟร์ Sci Power For Future Thailand ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ ซึ่งในกิจกรรมนี้ ผู้เข้าร่วมได้ระบายสีกระเป๋าผ้าที่สามารถนำไปใช้งานต่อได้ และผู้เข้าร่วมกิจกรรมบางส่วน ประสงค์ที่จะส่งต่อให้กับทางศูนย์รวมผู้เชี่ยวชาญฯ เพื่อนำไปบริจาคให้กับโรงพยาบาลของรัฐที่ประสบปัญหาผู้ป่วยไม่มีถุงใส่ยากลับบ้าน โดยเมื่อวันที่ 24 สิงหาคม 2567 ที่ผ่านมา ทางศูนย์รวมผู้เชี่ยวชาญฯ ได้ส่งต่อกระเป๋าผ้านี้ นำไปวางแจกให้กับผู้ป่วย เพื่อใส่ยากลับบ้าน ณ โรงพยาบาลวชิรพยาบาล กรุงเทพมหานคร แล้วเรียบร้อย

Air Pollution: Solution for the Transboundary Haze Issue in the Mekong Subregion

วันที่ 20 มิถุนายน 2567 ศูนย์รวมผู้เชี่ยวชาญฯ (HTAPC) ภายใต้สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ร่วมกับ ศูนย์ความเป็นเลิศด้านอนามัยสิ่งแวดล้อมและพิษวิทยา (The Center of Excellence on Environmental Health and Toxicology, EHT) จัดเวทีประชุมวิชาการนานาชาติขึ้น ณ ศูนย์ประชุมสถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ (CRI) เพื่อเป็นเวทีแลกเปลี่ยนศึกษาเรียนรู้บทเรียนเกี่ยวกับปัญหาหมอกควันข้ามแดนในพื้นที่อนุภาคแม่โขง เพื่อนำไปสู่การแก้ปัญหาต่อไป

ถอดบทเรียนการแก้ไขปัญหามลพิษอากาศรายภาคส่วนในประเทศไทย อดีต – ปัจจุบัน – อนาคต

วันที่ 10 เมษายน พ.ศ. 2567 ศูนย์รวมผู้เชี่ยวชาญฯ (HTAPC) ร่วมกับศูนย์วิชาการเพื่อขับเคลื่อนการป้องกันและแก้ไขปัญหามลพิษอากาศ (ศวอ.) ได้จัดประชุมการเสวนาถอดบทเรียนการแก้ไขปัญหามลพิษอากาศรายภาคส่วนในประเทศไทย อดีต-ปัจจุบัน-อนาคต ณ โรงแรมอัศวิน แกรนด์ คอนเวนชั่น กรุงเทพมหานคร และประชุมผ่าน Zoom Meeting และ Facebook Live โดยมี ดร.สุพัฒน์ หวังวงศ์วัฒนา (ผู้อำนวยการศูนย์รวมผู้เชี่ยวชาญฯ) และนายไพสิฐ พาณิชย์กุล (ผู้อำนวยการ ศวอ.) กล่าวเปิดงานประชุม และต้อนรับผู้เข้าร่วมการประชุม ซึ่งประกอบด้วยวิทยากร 14 ท่าน จากภาคส่วนต่าง ๆ ที่มีบทบาทและประสบการณ์สำคัญในการผลักดันการแก้ไขปัญหามลพิษอากาศของประเทศไทย ซึ่งได้ร่วมเสวนาในการประชุมครั้งนี้ การเสวนาในช่วงเช้ามีการนำเสนอในหัวข้อ “กว่าจะได้มาซึ่งคุณภาพอากาศในวันนี้” และช่วงบ่ายมีการหารือในหัวข้อ “แล้วจะก้าวเดินต่อไปในอนาคตข้างหน้าอย่างไร” จากนั้นเข้าสู่ช่วงถามตอบเพื่อเปิดโอกาสให้ผู้ร่วมประชุมได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็น และสรุปการประชุมในช่วงสุดท้าย

กิจกรรมเสวนาวิชาการนานาชาติ “PM 2.5: โอกาสและความท้าทายในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้”

วันที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2567 ศูนย์รวมผู้เชี่ยวชาญฯ (HTAPC) ร่วมกับมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์ลำปาง จัดการเสวนาวิชาการระดับนานาชาติ ในหัวข้อ “PM2.5  โอกาสและความท้าทายในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้” เพื่อเผยแพร่องค์ความรู้และผลงานวิชาการ รวมทั้งสร้างความเชื่อมโยงทางวิชาการทั้งในและต่างประเทศ โดยมี ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง (ผู้อำนวยการ วช.) และ รศ.ดร.สุปรียา แก้วละเอียด (รองอธิการบดีฝ่ายบริหารศูนย์ลำปางและกฎหมาย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์) ได้กล่าวเปิดงานและกล่าวต้อนรับผู้เข้าร่วมงานฯ การนี้ ดร.สุพัฒน์ หวังวงศ์วัฒนา ผู้อำนวยการศูนย์ฯ กล่าวถึงการดำเนินงานการแก้ไขปัญหา PM2.5  ที่ผ่านมาของประเทศไทยรวมไปถึงเป้าหมายหลักการดำเนินงานของ HTAPC ที่มีบทบาทหน้าที่ในการเชื่อมโยงและสร้างเครือข่ายของผู้เชี่ยวชาญด้านมลพิษอากาศและภูมิอากาศในระดับประเทศและในระดับนานาชาติ เพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูล องค์ความรู้ มุมมอง และประสบการณ์ เพื่อสร้างสังคมศูนย์รวมผู้เชี่ยวชาญในการป้องกันและแก้ไขปัญหามลพิษอากาศและภูมิอากาศทั้งในระดับประเทศ ระดับภูมิภาค และระดับนานาชาติ