นักวิจัย: น.ส.ดุษฎี รัตนพระ ประเภทโครงการ: โครงการเดี่ยว

งานวิจัยนี้ได้นำเทคนิคทางนิวเคลียร์ ได้แก่ เทคนิคการอาบรังสีนิวตรอน (NAA) และเทคนิคการเหนี่ยวนำอนุภาคให้ปลดปล่อยรังสีเอ็กซ์ (PIXE) มาใช้ร่วมกับเทคนิคมาตรฐานอินดักทีพลีคัพเปิลพลาสมาแมสสเปกโตรเมตรี (ICP-MS) ในการวิเคราะห์หาองค์ประกอบทางเคมีของฝุ่นละออง PM2.5 จากแหล่งกำเนิดฝุ่นหลักที่ได้จากการเผาไหม้วัสดุชีวมวลและดิน วัสดุชีวมวลที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ประกอบด้วย ฟางข้าว, ชานอ้อย, ข้าวโพด, เปลือกข้าวโพด, ซังข้าวโพด, ใบมันสำปะหลัง, หญ้า, ไม้สัก, ถ่าน, กาบมะพร้าว, ใบสัปปะรด และใบไผ่ เพื่อนำไปจัดทำรูปแบบ chemical source profile ในการจำแนกแหล่งกำเนิดฝุ่น ผลการทดลองพบว่ารูปแบบ chemical source profile ของแหล่งกำเนิดฝุ่นที่ได้จากการเผาไหม้วัสดุชีวมวลแต่ละชนิดมีรูปแบบที่คล้ายคลึงกันยกเว้นไม้สัก และยังพบว่า K และ Cl มีสัดส่วนความเข้มข้นสูงที่สุด อยู่ในช่วงระหว่างร้อยละ 51.07 ถึง 73.83 และ 8.46 ถึง 35.13 ตามลำดับ ขณะที่ Ca และ Si ถูกพบเป็นองค์ประกอบร่วมด้วย โดยมีสัดส่วนความเข้มข้นอยู่ในช่วงระหว่างร้อยละ 2.83 ถึง 11.45 และ 1.88 ถึง 4.97 ตามลำดับ นอกจากนี้ธาตุอื่นๆ ส่วนใหญ่ที่ตรวจพบ ซึ่งได้แก่ Cr, Ni, Cu, V, Dy, Er, Eu, Ga, Gd, Nd, Pb, Pr, Sm และ Th มีสัดส่วนความเข้มข้นที่ค่อนข้างต่ำ (น้อยกว่าร้อยละ 1.81) ในกรณีของฝุ่นที่มาจากดิน พบว่ามี Fe และ Ca ในสัดส่วนที่สูงที่สุด โดยมีค่าสัดส่วนความเข้มข้นร้อยละ 42.60 และ 24.85 ตามลำดับ นอกจากนี้ยังตรวจพบธาตุสำคัญอื่นๆ อีก ได้แก่ K (ร้อยละ...

Copyright © 2025 HTAPC-NRCT-CCCACC-TU | Hub of Talents on Air Pollution and Climate Inspiro Theme by WPZOOM