นักวิจัย: ผศ. ดร.สิราภรณ์ โพธิวิชยานนท์ ประเภทโครงการ: โครงการเดี่ยว

งานวิจัยนี้ใช้องค์ประกอบหลักทางเคมีในตัวอย่างฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน (PM2.5) ที่เก็บในช่วงปี พ.ศ. 2564 – 2565 จาก 3 พื้นที่ของจังหวัดหนองคาย (เทศบาลเมืองหนองคาย เทศบาลตำบลหาดคำ และอำเภอสระใคร) ตัวอย่างนำไปวิเคราะห์องค์ประกอบทางเคมี ได้แก่ สารกลุ่มคาร์บอน (3 ชนิด) ไอออนละลายน้ำ (10 ชนิด) และธาตุปริมาณน้อย (20 ชนิด) นำไปใช้วิเคราะห์หาสัดส่วนของแหล่งกำเนิดหลักด้วยแบบจำลอง Positive Matrix Factorization (PMF) และวิเคราะห์หาความเป็นไปได้ของแหล่งกำเนิดด้วย Conditional Probability Function (CPF) ค่าเฉลี่ยรายวัน PM2.5 มีระดับต่ำคล้ายกันทั้งสามพื้นที่ในช่วงฤดูฝน (<20 มคก./ลบ.ม.) ก่อนเพิ่มสูงขึ้นในช่วงต้นฤดูหนาว และเริ่มเกินมาตรฐานฯ (50 มคก./ลบ.ม.) ในช่วงเดือนมกราคม – เมษายน ปริมาณ PM2.5 ของสถานีฯ หนองคายบางวันเกิน 100 มคก./ลบ.ม. สถานีฯ หาดคำเกิน 80 มคก./ลบ.ม. และสถานีฯ สระใครไม่เกิน 80 มคก./ลบ.ม. ค่าเฉลี่ยรายวัน PM2.5 ในหนองคายสูงกว่าเมืองใหญ่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เช่น ขอนแก่น อุดรธานี เนื่องจากได้รับอิทธิพลจากการเคลื่อนที่ข้ามแดนจากลมในทิศตะวันตกเฉียงใต้-ตะวันออกเฉียงเหนือมากกว่าช่วงอื่น (ร้อยละ 65 – 72) และอิทธิพลจากการเคลื่อนที่ภายในประเทศ (ร้อยละ 15 - 23) ร่วมกับมีความสูงของชั้นผสมต่ำ (<100 เมตร) และมีความเร็วลมต่ำ ปริมาณอินทรีย์คาร์บอนมีสัดส่วนร้อยละ 54 - 58 และซัลเฟตไอออนมีสัดส่วนร้อยละ 14 - 21 ทำให้เป็นองค์ประกอบหลักสำคัญใน PM2.5 ของหนองคาย แอมโมเนียมและไนเตรทไอออนพบสูงเป็นลำดับสาม พื้นที่ชนบท (สระใคร) พบปริมาณแอมโมเนียมไอออนสูงกว่าพื้นที่เมือง ธาตุปริมาณน้อยมีสัดส่วนไม่เกินร้อยละ 1 โดยมีธาตุสังกะสี...

นักวิจัย: รศ. ดร.นเรศ เชื้อสุวรรณ ประเภทโครงการ: โครงการเดี่ยว

การเก็บตัวอย่างฝุ่นละอองขนาดเล็กกว่า 2.5 ไมครอน ด้วยเครื่องเก็บตัวอย่างมาตรฐาน (FRM) ได้ดำเนินการในจังหวัดสมุทรปราการ สมุทรสาคร นครปฐม นนทบุรี และปทุมธานี (2563 – 2564) เก็บตัวอย่างจากแหล่งกำเนิดที่มีการเผาไหม้เชื้อเพลิงและกิจกรรมอุตสาหกรรม การปิ้งย่าง ก่อสร้าง ตัวอย่างจากกรุงเทพฯ เป็นของสถานีฯ ดินแดง กรมประชาสัมพันธ์ บางนา (ข้อมูลกรมควบคุมมลพิษ 2561-2562) นำไปวิเคราะห์องค์ประกอบทางเคมีในกลุ่มไอออนละลายน้ำ 10 ชนิด ธาตุ 21 ชนิด สารอินทรีย์คาร์บอนและธาตุคาร์บอน รวมทั้งประเมินการเคลื่อนที่ของการจราจรบนถนนวงแหวนรัชดาภิเษกและกาญจนาภิเษกระดับ PM2.5 สูงกว่า 50 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตรเกิดขึ้นบางวันในช่วงฤดูหนาว แต่ระดับที่เพิ่มขึ้นหรือลดลงในแต่ละจังหวัดไม่เท่ากัน ปัจจัยของแหล่งกำเนิดเสริมกับสภาพอุตุนิยมวิทยาที่จำกัดการเคลื่อนที่และระบายอากาศมีส่วนสำคัญต่อการสะสม PM2.5 ฝุ่นทุติยภูมิและการเผาไหม้มีสัดส่วนสูงร้อยละ 21 - 31 ของน้ำหนัก PM2.5 ลักษณะของความสัมพันธ์ของแก๊สตั้งต้นและฝุ่นทุติยภูมิค่อนข้างชัดเจนในพื้นที่มีเมืองที่มีอุตสาหกรรม (สมุทรสาคร สมุทรปราการ) สังเกตได้จากระดับของซัลเฟตไอออนที่พบในปริมาณสูงกว่าไอออนละลายน้ำชนิดอื่นในทุกสถานีฯ และทุกฤดูกาล ปริมาณของสารอินทรีย์คาร์บอนเป็นองค์ประกอบหลักของ PM2.5 ตามด้วยซัลเฟตไอออน และธาตุคาร์บอน ธาตุปริมาณน้อย 5 ชนิด เป็นกลุ่มธาตุหลักพบในระดับสูงกว่าธาตุอื่น ได้แก่ B Al Fe Zn และ Pb โดยเฉลี่ยมีเหล็ก (Fe) สูงกว่าธาตุอื่นในทุกจังหวัดในระดับนาโนกรัมต่อลูกบาศก์เมตร กลุ่มธาตุรองมีทองแดง แมงกานีส แบเรียม พลวง นิกเกิล ลักษณะสัณฐานของ PM2.5 ไม่มีรูปร่างแน่นอน มักเกาะกลุ่มรวมกัน ลักษณะทางเคมีของแหล่งกำเนิด (source profiles) แตกต่างกันตามแหล่งกำเนิด เช่น การเผาไหม้น้ำมันเตามีวาเนเดียมสูง การเผาไหม้ชีวมวลมีโพแทสเซียมสูง การหาสัดส่วนแหล่งกำเนิดด้วยแบบจำลอง PMF พบว่า PM2.5 มีแหล่งกำเนิดเปลี่ยนไปตามพื้นที่และฤดูกาล ในภาพรวมพบว่า สถานีฯ ในพื้นที่กรุงเทพฯ มีแหล่งกำเนิดหลักที่สำคัญหลัก คือ การจราจร ฝุ่นทุติยภูมิโดยเฉพาะซัลเฟต การเผาชีวมวล การเผากากของเสีย ผสมกับฝุ่นจากการฟุ้งกระจายจากถนนและเศษดิน พื้นที่ปริมณฑลมีแหล่งกำเนิดหลัก คือ...

Copyright © 2025 HTAPC-NRCT-CCCACC-TU | Hub of Talents on Air Pollution and Climate Inspiro Theme by WPZOOM