
กรุงเทพมหานครและปริมณฑลได้รับผลกระทบด้านมลพิษทางอากาศมาอย่างต่อเนื่องโดยเฉพาะอย่างยิ่งปัญหาฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน (PM2.5) นั้น ได้ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม เศรษฐกิจ สุขภาพ และสังคมเป็นวงกว้าง งานวิจัยนี้มีวัตุประสงค์เพื่อประเมินประสิทธิผลของมาตรการลด PM2.5 ในพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล และเสนอแนวทางรองรับมาตรฐาน PM2.5 โดยดำเนินการศึกษามาตรการแก้ไขปัญหา PM2.5 ในปี พ.ศ. 2563 – 2564 เปรียบเทียบกับปีฐาน พ.ศ. 2562 และสร้างสถานการณ์จำลอง และคาดการณ์การเปลี่ยนแปลงของ PM2.5 ในบรรยากาศด้วยแบบจำลองทางคณิตศาสตร์ WRF-Chem รวมถึงการระดมความคิดเห็นต่อมาตรการแก้ไขปัญหา PM2.5 จากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง พบว่ามาตรการแก้ไขปัญหา PM2.5 ในปี พ.ศ. 2563-2564 เป็นมาตรการเชิงรับมากกว่ามาตรการเชิงรุก โดยมาตรการเชิงรุกที่มีประสิทธิผลสูงประกอบด้วย มาตรการห้ามเผาในที่โล่ง มาตรการห้ามรถบรรทุก 10 ล้อ ขึ้นไป ที่ใช้น้ำมันดีเซลเข้าในพื้นที่กรุงเทพมหานคร มีประสิทธิภาพในการลด PM2.5 สูงที่สุด 15-19% ในปี พ.ศ.2563 และมาตรการการกวดขัดห้ามเผาในที่โล่งและบังคับใช้กฎหมายความผิดในการเผาในที่โล่งมีประสิทธิภาพในการลด PM2.5 สูงที่สุด 19-35% ในปี พ.ศ.2564 อย่างไรก็ตามการลดลงของ PM2.5 ในช่วงเดือนมกราคม และกุมภาพันธ์ในปี พ.ศ. 2563 – 2564 นั้นได้รับปัจจัยเสริมจากความเร็วลมและทิศทางลมที่มีการเปลี่ยนแปลง โดยความเข้มข้นเฉลี่ยของ PM2.5 ในช่วงวิกฤตฝุ่น ในปี พ.ศ. 2563-2564 ทั้งในพื้นที่ริมถนนและพื้นที่ทั่วไปมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น จากปี พ.ศ.2562 และงานวิจัยนี้ได้พิจารณาประสิทธิผลของมาตรการด้วยแบบจำลองทางคณิตศาสตร์ WRF-Chem ทั้ง 3 มาตรการ ได้แก่ 1) การทำงานจากระยะไกล (Work from Remote) 2) การเปลี่ยนรถโดยสารสาธารณะที่ใช้เชื้อเพลิงประเภทดีเซลเป็นก๊าซธรรมชาติหรือไฟฟ้า และ 3) การลดกำลังผลิตของโรงงานอุตสาหกรรม ผลการศึกษาพบว่ามาตรการดังกล่าวถือเป็นมาตรการระยะสั้นที่ไม่ส่งผลในการลดความเข้มข้นของฝุ่น PM2.5 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ แม้ว่าจะลดแหล่งกำเนิดของฝุ่นโดยตรง แต่ปฏิกิริยาเคมีในบรรยากาศที่ทำให้เกิดฝุ่นทุติยภูมิยังมีอยู่ เนื่องจากในบรรยากาศยังมีสารตั้งต้น (Precursors) ส่งผลให้ความเข้มข้นของฝุ่น PM2.5...

การพัฒนาด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน ผ่านโมเดลเศรษฐกิจชีวภาพเศรษฐกิจหมุนเวียน และเศรษฐกิจสีเขียว ( Bio-Circular-Green Economy) เป็นไปเพื่อตอบโจทย์ปัญหาที่เกิดขึ้นกับประชาชนทั้งทางด้านความสะดวกสบายในการใช้ชีวิต ด้านสุขภาพ ด้านเศรษฐกิจ ด้านการสื่อสารและการคมนาคม ความรู้ที่ได้จากการวิจัยเป็นปัจจัยหลักที่จะเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศไทยในเวทีโลก ดังนั้นการวิเคราะห์งานวิจัยจึง เป็นสิ่งสำคัญในการได้มาซึ่งฐานข้อมูล ที่สำคัญ และองค์ความรู้ ใหม่ เพื่อนำไปใช้พัฒนา เป็นนวัตกรรม และ ตอบโจทย์เพื่ อ แก้ปัญหาของประเทศได้อย่างถูกวิธี ปัจจุบัน หลายๆอุตสาหกรรมต้องพึ่งพาการเร่งปฏิกิริยา เพื่อ ช่วยลดต้นทุนและเพิ่มผลผลิต เนื่องจากเป็นการ เพิ่มอัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมีและลดพลังงานที่ต้องใช้ คณะผู้วิจัยทำการรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลงานวิจัยด้านตัวเร่งปฏิกิริยาเชิงลึกเพื่อระบุทิศทางของงานวิจัยทั้งในประเทศและต่างประเทศ และมองหาแนวโน้มที่จะพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตตัวเร่งปฏิกิริยาจากระดับห้องปฏิบัติ การสู่ระดับโรงงานพาณิชย์ โดยข้อมูลที่นำมาใช้ในการวิเคราะห์ได้แก่ จำนวนสิทธิบัตร อนุสิทธิบัตร และงานวิจัยตีพิมพ์ด้านตัวเร่งปฏิกิริยา รวมทั้งข้อมูลสินค้านำเข้าส่งออกของประเทศไทย การดำเนินงานวิจัย เริ่มจากการกำหนดคำสำคัญที่เกี่ยวข้องกับวิทยาการเร่งปฏิกิริยา ดังแสดงในแผนภูมิก้างปลา เพื่อใช้เป็นแนวทางในการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ของตัวเร่งปฏิกิริยาในฐานข้อมูลต่างๆ เกณฑ์ที่ใช้ในการจั ดกลุ่มความสัมพันธ์ระหว่างตัวเร่งปฏิกิริยามีได้หลายรูปแบบ ได้แก่ การจัดกลุ่มตามประเภทปฏิกิริยาหรือกระบวนการการเร่งปฏิกิริยา ( Process) การประยุกต์ใช้ ( Application) ประเภทของตัวเร่งปฏิกิริยา ( Catalyst classification) ลักษณะกายภาพที่ปรากฎ ( Appearance) การสังเคราะห์ Synthetic process) ปริมาณ ของ ความ พรุน ( Porosity) พื้นที่กัมมันต์สำหรับการเกิดปฏิกิริยา ( Active site) และระดับเทคโนโลยี กำลังการผลิต Scaling) อย่างไรก็ตาม ผู้วิจัยสืบค้นข้อมูลงานวิจัยโดยให้ความสำคัญกับตัวเร่งปฏิกิริยาที่ถูกจัดกลุ่มตามประเภทปฏิกิริยาหรือกระบวนการการเร่งปฏิกิริยา ( Process) และการประยุกต์ใช้ ( Application) เป็นหลัก เนื่องจากสามารถใช้เป็นข้อมูลในการเลือกตัวเร่งปฏิกิริยาที่ควรนำมาต่อยอดงานวิจัยในประเทศได้ในอนาคต
ผลจากการสืบค้นงานวิจัยที่มีการเผยแพร่ในรูปแบบวารสารทำให้ทราบว่า งานวิจัยตัวเร่งปฏิกิริยาในประเทศไทยศึกษาการเร่งปฏิกิริยาผ่านกระบวนการรีดอกซ์เป็นส่วนใหญ่ และมีการนำตัวเร่งปฏิกิริยาไปประยุกต์ใช้กับการสังเคราะห์และผลิตเคมีภัณฑ์มากที่สุด ในขณะที่งานวิจัยตัวเร่งปฏิกิ ริยาในระดับนานาชาติจะเน้น ศึกษาการเร่งปฏิกิริยาผ่านกระบวนการไฟฟ้าเคมีมากที่สุด และนำตัวเร่งปฏิกิริยาไปการประยุกต์ด้านพลังงาน และสิ่งแวดล้อมเป็นหลัก การวิเคราะห์ข้อมูลสิทธิบัตร อนุสิทธิบัตรในประเทศ และนานาชาติ พบว่าการขอสิทธิบัตรในประเทศไทยด้านตัวเร่ งปฏิกิริยามากที่สุดคือการประยุกต์ใช้งานด้านพลังงานและการกักเก็บพลังงาน ในขณะที่สิทธิบัตรต่างประเทศ จะมุ่งเน้น ด้านสิ่งแวดล้อมเป็นหลัก นอกจากนี้ยังพบว่า ประเทศไทยได้ยื่นของจดสิทธิบัตรนานาชาติ ในปฏิกิริยารีดอกซ์เป็นหลัก...

ปัญหาฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน (PM2.5) ในพื้นที่กรุงเทพมหานครส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม เศรษฐกิจ และสุขภาพของประชาชน ปัจจัยทางอุตุนิยมวิทยาใกล้ผิวดินมีอิทธิพลต่อการเปลี่ยนแปลงปริมาณและการกระจายของ PM2.5 ในแนวระนาบและแนวดิ่ง อีกทั้งการเปลี่ยนแปลงทางกายภาพและปฏิกิริยาทางเคมีก่อให้เกิดฝุ่นทุติยภูมิขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน (Secondary PM2.5) ในบรรยากาศ
จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแหล่งกำเนิดของฝุ่นทุติยภูมิ