นักวิจัย: ศ. ดร.พีระพงศ์ ทีฆสกุล ประเภทโครงการ: โครงการเดี่ยว

โครงการวิจัยนี้ได้พัฒนาเทคโนโลยีการตรวจวัดฝุ่นละอองขนาด PM0.1 แบบเรียลไทม์โดยใช้ personal nanoparticle sampler (PNS) ในการแยกอนุภาค PM0.1และศึกษาการใช้เทคโนโลยี Quartz Crystal Microbalance (QCM), Electrostatic Current (EC) และ Optical Particle Counter (OPC) มาประกอบเพื่อให้สามารถอ่านค่าความเข้มข้น PM0.1 ในอากาศได้แบบเรียลไทม์โดยการพัฒนาเครื่องตรวจวัดอนุภาคฝุ่น PM0.1 เป็นกิจกรรมที่เกิดขึ้นในปีที่ 1-2 ที่ผ่านมา สำหรับในปีที่ 3 ทีมวิจัยได้คัดเลือกเทคโนโลยี EC เป็นต้นแบบในการขยายผลเครื่องตรวจวัดฝุ่นละออง PM0.1 เนื่องจากมีความเป็นไปได้มากที่สุด ส่วน OPC ดำเนินการโดย Kanazawa University พบว่ามีข้อจำกัดเชิงเทคนิค สามารถอ่านค่าได้ถึง PM0.2 เท่านั้น ในการใช้ KEC ขยายผลเครื่องตรวจวัดฝุ่นละออง PM0.1 ผลการปรับเทียบสัญญาณของ electrometer ในการอ่านค่าน้ำหนักฝุ่นเป็นสัญญาณไฟฟ้า หน่วย mV พบว่ามีค่าสัญญาณ mV/cm3 ในช่วง 0.12 – 189.4 mV/cm3 สอดคล้องกับความเข้มข้นเชิงจำนวนในหน่วย particles/cm3 ในช่วง 0 – 11,000 particles/cm3

และสัดส่วนระหว่าง particles/cm3 ต่อ mV/cm3 เฉลี่ยเท่ากับ 58.42 ซึ่งหมายความว่า 1 mV/cm3 มีค่าเท่ากับ 58.42 particles/cm3 จากนั้นได้ดำเนินการปรับเทียบสัญญาณแรงดันไฟฟ้าของเครื่องตรวจวัดอนุภาคฝุ่น PM0.1 ให้เป็นความเข้มข้นเชิงมวลโดยเทียบกับเครื่อง TEOM ที่ได้รับรองมาตรฐานจาก US-EPA และปรับเทียบกับความเข้มข้นเชิงมวลของฝุ่นราย 24 ชั่วโมง กับ Nanosampler เพื่อให้ได้สมการสำหรับการปรับเทียบค่าสัญญาณแรงดันไฟฟ้าของเครื่อง Nano-EC เป็นความเข้มข้นเชิงมวลของฝุ่น PM0.1 ที่แท้จริง ข้อมูลจากเครื่อง Nano-EC-PSU#01 และ Nano-EC-PSU#02 ถูกส่งเข้าสู่ระบบแพลตฟอร์มออนไลน์บนเว็บไซต์...

Copyright © 2025 HTAPC-NRCT-CCCACC-TU | Hub of Talents on Air Pollution and Climate Inspiro Theme by WPZOOM