
การบริหารจัดการใบอ้อยที่ระยะเก็บเกี่ยว ผ่านระบบโลจิสติกต์ การศึกษา อุปสงค์-อุปทาน การเพิ่มมูลค่าและส่วนอื่นๆของอ้อย
การเผาใบอ้อยเป็นแหล่งหนึ่งของมลภาวะทางอากาศจากฝุ่น PM 2.5 แปลงอ้อยที่ผ่านการเผายังสูญเสียธาตุอาหารทั้งจากดินและใบอ้อย ทั้งนี้ส่งผลทำให้ผลผลิตของอ้อยตอต่ำตามไปด้วย อย่างไรก็ตามใบอ้อยนั้นมีศักยภาพในการเพิ่มมูลค่าในด้านต่างๆ งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อลด PM2.5 จากการเผาอ้อย โดยการบริหารจัดการใบอ้อยหลังการเก็บเกี่ยว ผ่านระบบลอจิสติกต์ การศึกษาอุปสงค์-อุปทานใบอ้อย การเพิ่มมูลค่าใบและส่วนอื่นๆของอ้อย ดำเนินการศึกษาอุปสงค์-อุปทานใบอ้อย โดยสัมภาษณ์และถอดบทเรียนข้อมูลเบื้องต้นของผู้ประกอบการที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับในการเก็บเกี่ยว รวบรวม และขนส่งใบอ้อย เพื่อศึกษารูปแบบการจัดการเก็บเกี่ยวใบอ้อย ในปีการผลิต 2564/65 ของจังหวัดขอนแก่น จากนั้นพัฒนา application สำหรับสมาร์ทโฟน ศึกษาการเพิ่มมูลค่าใบและส่วนอื่นๆของอ้อย โดยกระบวนการทางชีวภาพและทางเคมีในระดับต้นแบบและการใช้กากใบอ้อยจากกระบวนสกัดน้ำตาลเพื่อผลิตไบโอชาร์ ไฮโดรเจลนำไฟฟ้าอัจฉริยะที่ประกอบด้วยนาโนซิลเวอร์ที่สังเคราะห์ด้วยวิธีที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมจากสารสกัดใบอ้อย การน้ าตาลสกัดจากขยะทางการเกษตรของอ้อยโดยกระบวนการไฮโดรไลซิสด้วยกรดและด่าง ผลการศึกษาพบว่าในปีการผลิต 2564/65 ภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีปริมาณอ้อยสด 30,064,536.46 ตัน มีประมาณการได้ปริมาณอุปทานใบอ้อยเท่ากับ 3,006,453.65 ตัน อย่างไรก็ตามโรงไฟฟ้าชีวมวลส่วนใหญ่ไม่ได้ใช้ใบอ้อยเป็นวัตถุดิบหลักในการผลิตไฟฟ้าชีวมวล มีอุปสงค์ใบอ้อยรวมเท่ากับ 282,500 ตัน หรือคิดเป็นร้อยละ 9.40 ของปริมาณอุปทานใบอ้อยทั้งหมดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งยังมีปริมาณใบอ้อยที่ไม่ถูกนำไปใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์อีก 2,723,953.64 ตัน ระบบโลจิสติกส์การเก็บใบอ้อยด้วยอัลกอริธึมที่พัฒนาขึ้นสามารถลดระยะทางในส่วนการ
ขนส่งลงจากเดิมขั้นตอนละ 12.49 กิโลเมตร สำหรับเครื่องจักรแต่ละประเภท และลดการใช้พลังงานจากการขนถ่ายในการกวาด อัด คีบ และขนส่งได้ 62.45 ,749.40 ,374.70 และ 374.70 บาท ตามล าดับ และได้พัฒนาซอฟแวร์ในรูปแบบ Mobile App (Android) คือ “ฉลาดจัดการใบอ้อย app” ให้ผู้ประกอบการใช้เป็นเครื่องมือในการวางแผนจัดล าดับการท างานในการเก็บใบอ้อยเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและลดต้นทุนในการดำเนินงานได้การศึกษาการเพิ่มมูลค่าใบอ้อยพบสภาวะความเข้มข้นของน้ำตาลผสมสูงสุดที่เหมาะสมสำหรับการใช้เป็นความเข้มข้นที่เหมาะสมสำหรับเพิ่มความเข้มข้นของน้ำตาลที่สกัดจากใบอ้อย เพื่อใช้ในการหมักเอทานอลจากเครื่องผลิตต้นแบบได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด ใบอ้อยสามารถนำมาผลิตไฮโดรเจลนำไฟฟ้าอัจฉริยะที่ประกอบด้วยนาโนซิลเวอร์ได้นอกจากนี้ยังสามารถผลิตน้ำตาลจากใบอ้อย ชานอ้อย และตออ้อยได้จากผลการศึกษาของแผนงานเป็นการเสนอแนวทางการจัดการใบอ้อยที่ระยะเก็บเกี่ยว ผ่านการบริหารจัดการโลจิสติกส์ การเพิ่มมูลค่าใบอ้อยและขยะจากอ้อยตามศักยภาพ อันน ามาซึ่งประโยชน์ต่อเกษตรกรชาวไร่อ้อย เกษตรกรผู้รับเหมาจัดเก็บใบอ้อย ภาคส่วนอุตสาหกรรมโรงงานน้ำตาล โรงงานไฟฟ้าชีวมวล ภาคธุรกิจอื่นๆที่สนใจ และประชาชนทั่วไป
คำสำคัญ ใบอ้อย โลจิสติกต์ การเพิ่มมูลค่า