No Image Available

การถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตและการใช้ปุ๋ยคอกอัดเม็ดผสมจุลินทรีย์ย่อยสลายตอซังและฟางข้าวเพื่อการใช้ประโยชน์ในชุมชนเกษตรกรรายย่อย

- Transfer of Production Technology and Use of Compost Pellet Mixed with Microorganisms to Decompose Stubble and Rice Straw for Utilizing in Small Farmer Communities
 ผู้แต่ง:: รศ. ดร.ดุสิต อธินุวัฒน์  หน่วยงาน:: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์  ปีเผยแพร่:: 2021  ประเทศ:: ไทย  ภาษา:: ไทย More Details  อ่านเพิ่มเติม
 บทคัดย่อ:

ประเทศไทยมีพื้นที่ปลูกข้าวประมาณ 65 ล้านไร่ โดย 69 เปอร์เซ็นต์ของพื้นที่ปลูกข้าวทั้งหมด เกษตรนิยมเผาตอซังและฟางข้าว ซึ่งการเผานาส่งผลให้สูญเสียธาตุอาหารในดินคิดเป็นเงิน 11,468 ล้านบาท ยิ่งไปกว่านั้น ยังสร้างมลพิษ PM2.5 ซึ่งมี black carbon ที่มีคุณสมบัติในการดูดกลืนรังสีดวงอาทิตย์ ทาให้โลกร้อนขึ้นอย่างต่อเนื่อง โครงการนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อลดมลพิษทางอากาศ PM 2.5 ที่เกิดจากการเผาตอซังข้าว ลดต้นทุนการผลิตข้าว และเพิ่มความคุ้มค่าในการผลิตข้าวด้วยปุ๋ยคอกอัดเม็ดผสมจุลินทรีย์ เมื่อเทียบกับการใช้ปุ๋ยประเภทอื่น ๆ ดาเนินการถ่ายทอดองค์ความรู้และเทคโนโลยี ได้แก่ การขยายเพิ่มปริมาณจุลินทรีย์ย่อยสลายตอซังฟางข้าวไว้ใช้เองภายในชุมชน กระบวนการผลิตปุ๋ยคอกอัดเม็ดผสมจุลินทรีย์ย่อยสลายตอซังฟางข้าว การวิเคราะห์ต้นทุนของปุ๋ยคอกอัดเม็ดผสมจุลินทรีย์ย่อยสลายตอซังฟางข้าว การประยุกต์ใช้ปุ๋ยคอกอัดเม็ดผสมจุลินทรีย์ย่อยสลายตอซังฟางข้าว (อัตราการใช้และวิธีการใช้) และการปลูกจิตสานึก การดูแลสิ่งแวดล้อม ลดฝุ่น PM2.5 ที่เกิดจากการเผาในพื้นที่เกษตร รวมทั้งทาแปลงนาสาธิตเพื่อแสดงวิธีการใช้ปุ๋ยคอกอัดเม็ดผสมจุลินทรีย์ในการย่อยสลายตอซังและฟางข้าว สาหรับทดแทนการเผานาและลดฝุ่น PM2.5 ให้แก่กลุ่มเกษตรกรใน 10 พื้นที่เป้าหมาย จานวน 400 คน เกิดความเชื่อมั่น รวมทั้งสาธิตการผลิตและใช้น้าหมักหัวเชื้อ อีเอ็ม ร่วมกับปุ๋ยคอกอัดเม็ดผสมจุลินทรีย์ในการย่อยสลายตอซังและฟางข้าว และสาธิตการผลิตและใช้หัวเชื้อแบคทีเรีย B. subtilis TU-Orga1 สาหรับกระตุ้นภูมิคุ้มกันพืชและเพิ่มผลผลิตข้าว ผลการดาเนินการพบว่า การถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตและการใช้ปุ๋ยคอกอัดเม็ดผสมจุลินทรีย์ย่อยสลายตอซังและฟางข้าว ในพื้นที่เป้าหมาย 10 พื้นที่ และพื้นที่ขยายผลอีก 11 พื้นที่ รวมเป็นพื้นที่ที่มีการนาองค์ความรู้ไปประยุกต์ใช้เท่ากับ 11,421 ไร่ คิดเป็นพื้นที่เผานาประมาณ 9,840 ไร่ ซึ่งคิดเป็นตอซังและฟางข้าวที่จะถูกเผาประมาณ 6,396 ตัน ทาให้สามารถลดปริมาณการปล่อย black carbon ได้มากถึง 496.10 กิโลกรัมต่อปี นอกจากนี้ ปุ๋ยคอกอัดเม็ดผสมจุลินทรีย์ย่อยสลายตอซังฟางข้าว ยังช่วยปรับปรุงบารุงดินส่งผลให้ดินนามีอินทรียวัตถุเพิ่มขึ้น 54.08 100 เปอร์เซ็นต์ และทาให้มีธาตุอาหารพืช ได้แก่ ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และโพแทสเซียม เพิ่มขึ้น ซึ่งเป็นผลดีต่อการปลูกข้าวในฤดูถัด ๆ ไป การใช้ปุ๋ยคอกอัดเม็ดผสมจุลินทรีย์ย่อยสลายตอซังและฟางข้าว สามารถลดต้นทุนการผลิตและสร้างรายได้จากการสร้างมูลค่าเพิ่มของเหลือทางการเกษตร จากการใช้ปุ๋ยหมักจากฟางข้าวผสมจุลินทรีย์ได้ 1,292 บาทต่อไร่ คิดเป็นต้นทุนการผลิตข้าวที่ลดลงเท่ากับ 27 เปอร์เซ็นต์ คิดเป็นมูลค่า 12,713,280 ล้านบาท และสามารถลดการนาเข้าปุ๋ยเคมีได้ 492,000 กิโลกรัมต่อปี (สาหรับพื้นที่ 9,840 ไร่) คิดเป็นมูลค่า 16,728,000 บาท ดังนั้น ปุ๋ยคอกผสมจุลินทรีย์ เป็นผลผลิตของโครงการที่ได้รับการยอมรับจากผู้ใช้งาน มีกระบวนการผลิตไม่ซับซ้อน และสามารถประยุกต์ใช้ได้ในพื้นที่ต่าง ๆ ได้ดี จึงควรเผยแพร่องค์ความรู้และเทคโนโลยีการผลิตและการใช้ปุ๋ยคอกผสมจุลินทรีย์ให้แก่เกษตรกรทั่วประเทศได้นาไปใช้ในการลดการเผานาและการเผาในที่โล่ง เพื่อการเกษตรที่อนุรักษ์สิ่งแวดล้อม อีกทั้งยังสามารถลดต้นทุนการผลิตในสภาวะปุ๋ยเคมีราคาแพงได้เป็นอย่างดีอีกด้วย

 

เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง - โครงการเดี่ยว

Copyright © 2025 HTAPC-NRCT-CCCACC-TU | Hub of Talents on Air Pollution and Climate Inspiro Theme by WPZOOM