
การจำแนกแหล่งกำเนิดฝุ่นขนาดเล็กกว่า 2.5 ไมครอน ในพื้นที่เขตเมืองจังหวัดพิษณุโลก
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความเข้มข้นและองค์ประกอบทางเคมีของฝุ่นละอองขนาดเล็กกว่า 2.5 ไมครอน (PM2.5) ตามการเปลี่ยนแปลงของฤดูกาลในเขตจังหวัดพิษณุโลก รวมทั้งจําแนกประเภทและสัดส่วนแหล่งกําเนิดของฝุ่น PM2.5 การศึกษาความเข้มข้นของฝุ่น PM2.5 โดยการเก็บตัวอย่างต่อเนื่อง 24 ชั่วโมง ตั้งแต่เดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2563 ถึง เดือนมีนาคม พ.ศ. 2564 ในพื้นที่ศึกษา 2 พื้นที่ ได้แก่ พื้นที่เมืองและพื้นที่กึ่งเมือง พบว่าค่าความเข้มข้นของฝุ่น PM2.5 ในเขตพื้นที่เมือง มีค่าเฉลี่ยอยู่ในช่วง 10.9±3.9 -70.7±14.7 μg/m3และมีค่าเกินมาตรฐานคุณภาพอากาศในบรรยากาศทั่วไปที่กําหนดไว้ 50 μg/m3 อยู่ 3 เดือน คือ เดือน มกราคม–มีนาคม พ.ศ. 2564 ส่วนฝุ่น PM2.5 ในเขตพื้นที่กึ่งเมืองมีค่าเฉลี่ยอยู่ในช่วง 16.8±9.6 – 84.6±18.5 μg/m3 และมีค่าเกินมาตรฐาน อยู่ 4 เดือน คือ เดือน ธันวาคม พ.ศ. 2563 – มีนาคม พ.ศ. 2564 ผลการวิเคราะห์องค์ประกอบทางเคมี พบว่าสัดส่วนองค์ประกอบทางเคมีในฝุ่น PM2.5 ในเขตพื้นที่เมืองมีองค์ประกอบคาร์บอนมากที่สุด รองลงมาคือแอนไอออน แคทไอออน และปริมาณธาตุพบน้อยสุดตามลําดับ รวมทั้งหมดคิดเป็น 98% ของปริมาณฝุ่น PM2.5 ทั้งหมด เช่นเดียวกันกับพื้นที่กึ่งเมืองพบว่ามีองค์ประกอบคาร์บอนมากที่สุด รองลงมาคือแอนไอออน แคทไอออน และปริมาณธาตุตามลําดับ รวมทั้งหมดคิดเป็น 95% ของปริมาณฝุ่น PM2.5 ทั้งหมด การจําแนกแหล่งกําเนิดฝุ่นPM2.5 ด้วยแบบจําลองผู้รับสัมผัส PMF พบว่า เขตพื้นที่เมืองมีแหล่งกําเนิด 5 แหล่ง ได้แก่ Traffic emission (28%) Construction dust (11%) Biomass burning (25%) Road dust (15%) และ Mineral dust (21%) ส่วนพื้นที่กึ่งเมืองมีแหล่งกําเนิด 5 แหล่ง ได้แก่ Biomass burning (22%) Road dust (36%) Traffic emission (16%) Mineral dust (9%) และ Construction dust (17%) ซึ่งผลการศึกษาที่ได้สามารถนําไปใช้ในการวางแผนการจัดการคุณภาพอากาศต่อไป
คําสําคัญ: ฝุ่นขนาดเล็กกว่า 2.5 ไมครอน, พื้นที่เมือง, พื้นที่กึ่งเมือง, องค์ประกอบทางเคมี