No Image Available

การลดควันดำและ PM2.5 ของเครื่องยนต์ดีเซลด้วยสารเติมแต่งน้ำมันเชื้อเพลิง

- Reduction of smoke and PM2.5 of a diesel engine by fuel additive
 ผู้แต่ง:: น.ส.ฐิติพร วัฒนกุล  หน่วยงาน:: กรมวิทยาศาสตร์บริการ  ปีเผยแพร่:: 2024  ประเทศ:: ไทย  ภาษา:: ไทย More Details  อ่านเพิ่มเติม
 บทคัดย่อ:

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเตรียมสารเติมแต่งน้ำมันเชื้อเพลิงที่มีออกซิเจนเป็นส่วนประกอบเพื่อนำไปใช้ในการแก้ไขปัญหาฝุ่น PM2.5 และควันดำ โดยสารเติมแต่งที่ใช้ คือ กลีเซอรอล บิวทิล อะเซทัล ซึ่งเตรียมได้จากปฏิกิริยาอะเซทัลไลเซชันของกลีเซอรอล และบิวทิรัลดีไฮด์ เมื่อนำสารเติมแต่งนี้ไปผสมกับน้ำมันดีเซลชนิดบี 7 จำนวน 0.125 เปอร์เซ็นต์ พบว่ามีลักษณะและคุณภาพเป็นไปตามมาตรฐานตามประกาศกรมธุรกิจพลังงาน และมีประสิทธิภาพในการเพิ่มการเผาไหม้ และลดการปล่อย PM2.5 เมื่อดำเนินการทดสอบบนแท่นทดสอบโดยใช้วัฏจักรการขับขี่แบบกรุงเทพมหานคร โดยสารเติมแต่งกลีเซอรอล บิวทิล อะเซทัลไม่ส่งผลต่อการเพิ่มปริมาณการเกิดแก๊สไนโตรเจนออกไซด์ นอกจากนี้เมื่อดำเนินการวิเคราะห์อัตราเร่ง และแรงม้าของรถยนต์ตัวอย่างก่อนและหลังการเติมสารเติมแต่งน้ำมันเชื้อเพลิงดีเซลบนแท่นทดสอบ พบว่ามีค่าไม่แตกต่างไปจากเดิม และไม่ส่งผลกระทบต่อการสึกหรอของระบบฉีดเชื้อเพลิง การอุดตันของหัวฉีดเชื้อเพลิง และการสึกหรอของชิ้นส่วนในระบบหล่อลื่นของรถยนต์ เมื่อทำการวิเคราะห์ข้อมูลทางเศรษฐศาสตร์ในเบื้องต้น พบว่ามีระยะเวลาคืนทุนต่ำ มีอัตราผลตอบแทนภายใน และมีมูลค่าปัจจุบันสุทธิสูง และมีค่าต้นทุนต่อหน่วยของมาตรการกับประสิทธิผลที่เกิดขึ้นเป็น 130,900-392,701 บาทต่อตันของ PM2.5 ซึ่งพบว่ามีค่าใช้จ่ายที่ต่ำกว่าวิธีการอื่นๆ

 

คำสำคัญ : สารเติมแต่งเชื้อเพลิงที่มีออกซิเจนเป็นส่วนประกอบ, กลีเซอรอล, บิวทิล, อะเซทัลPM2.5, ควันดำ, เครื่องยนต์ดีเซล

เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง - โครงการเดี่ยว

Copyright © 2025 HTAPC-NRCT-CCCACC-TU | Hub of Talents on Air Pollution and Climate Inspiro Theme by WPZOOM