No Image Available

การบริหารจัดการไฟป่าอย่างมีประสิทธิภาพ และการพัฒนากลไกการจ่าย ค่าตอบแทนระบบนิเวศ (PES) เพื่อป้องกันการเกิดไฟป่าและฝุ่นละออง PM2.5 โดยการมีส่วนร่วมของ ชุมชน ในบริเวณพื้นที่อุทยานแห่งชาติดอยสุเทพ-ปุย จังหวัดเชียงใหม่

- Effective Forest Fire Management and Development of Payment for Ecosystem Services (PES) to reduce Burned Area and PM2.5 Haze through Participation in Model Communities in Doi Suthep-Pui National Park Area, Chiang Mai Province
 ผู้แต่ง:: นายไพสิฐ พาณิชย์กุล  หน่วยงาน:: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่  ปีเผยแพร่:: 2023  ประเทศ:: ไทย  ภาษา:: ไทย More Details  อ่านเพิ่มเติม
 บทคัดย่อ:

งานวิจัยนี้มุ่งศึกษาการจัดการไฟในพื้นที่ป่าไม้ โดยการนำกลไกการจ่ายค่าตอบแทนระบบนิเวศ (Payment for Ecosystem Services: PES) มาปรับใช้เพื่อการจัดการไฟป่าและฝุ่นละออง PM2.5 ตลอดจนการจัดทำข้อเสนอเชิงนโยบายที่สอดคล้องกับสภาพเศรษฐกิจ สังคม และวิถีชีวิตของชุมชนในพื้นที่อุทยานแห่งชาติดอยสุเทพ-ปุย จังหวัดเชียงใหม่ การวิจัยใช้วิธีการเก็บข้อมูลภาคสนาม การสอบถามความคิดเห็น การสัมภาษณ์เชิงลึก และการสำรวจร่วมกับเจ้าหน้าที่อุทยาน โดยเน้นการมีส่วนร่วมของชุมชนทั้ง 10 ชุมชนในพื้นที่ ผลการศึกษาพบว่าการมีส่วนร่วมของชุมชนเป็นปัจจัยสำคัญในการลดการใช้ไฟและช่วยพัฒนากลไกการจ่ายค่าตอบแทนระบบนิเวศ (PES) ที่เหมาะสมกับบริบทของแต่ละพื้นที่ นอกจากนี้ยังได้จัดทำข้อเสนอเชิงนโยบายที่สอดคล้องกับพระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติ พ.ศ. 2562 (มาตรา 64 และ 65) เพื่อส่งเสริมการบริหารจัดการป่าอย่างมีส่วนร่วมและยั่งยืน งานวิจัยนี้จึงถือเป็นการสร้างองค์ความรู้ใหม่ที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์เชิงปฏิบัติในการจัดการไฟป่าและลดปัญหาฝุ่นละออง PM2.5 ในพื้นที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืน

 

คำสำคัญ : ความเสื่อมโทรมระบบนิเวศ, การอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพ, การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ, ความเป็นอยู่ที่ดีของชุมชน, ไฟป่า, การจัดการเชื้อเพลิง, ฝุ่นละอองขนาดเล็ก, ระบบภูมิสารสนเทศ, ข้อมูลระยะไกล, การจ่ายค่าตอบแทนระบบนิเวศ, การอนุรักษ์, ชุมชน

เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง - โครงการเดี่ยว

Copyright © 2025 HTAPC-NRCT-CCCACC-TU | Hub of Talents on Air Pollution and Climate Inspiro Theme by WPZOOM